ความชุกและการจำแนกอาการไม่พึงประสงค์ จากการใช้ยา โรงพยาบาลสอยดาว

Main Article Content

มรกต ฤกษรัตนวารี

Abstract

ที่มาของปัญหา : โรงพยาบาลสอยดาวยังขาดข้อมูลที่จำเป็นเพื่อใช้ในการวางระบบเฝ้าระวัง และลดการเกิด อุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหาความชุกและจำแนกรายละเอียดของอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ของ โรงพยาบาลสอยดาว ในด้านชนิดและอาการแสดงของอาการไม่พึงประสงค์ แหล่งที่มาและชนิดของยา ที่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ระดับความน่าจะเป็นและระดับความร้ายแรงของอาการไม่พึงประสงค์ และอาการไม่พึงประสงค์ที่สามารถป้องกันได้

วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในรายใหม่ที่เกิดอาการ ไม่พึงประสงค์ในระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2557 รวม เป็นระยะเวลา 5 ปี

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยนอกทั้งหมดจำนวน 464,952 ราย เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 332 ราย คิด เป็นค่าความชุกเท่ากับ 0.71 ต่อพันใบสั่งยาผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในทั้งหมดจำนวน 24,826 ราย เกิด อาการไม่พึงประสงค์ 172 ราย คิดเป็นความชุก 6.93 ต่อพันรายผู้ป่วยใน รวมการเกิดอาการไม่พึง ประสงค์ ทั้งหมดจำนวน 504 ราย ส่วนใหญ่เป็นการแพ้ยาร้อยละ 81.9 รองลงมาเป็นอาการข้างเคียง จากการใช้ยาร้อยละ 17.7 รวมจำนวนที่ต้องสงสัยทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ 717 รายการ เป็นยา ที่ได้รับจากโรงพยาบาลสอยดาวร้อยละ 50.8 และได้รับยาจากคลินิกร้อยละ 16.3 กลุ่มยาที่เป็นสาเหตุ ให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุด คือ กลุ่มยาปฏิชีวนะจำนวน 258 รายการ คิดเป็นร้อยละ 35.98 ระดับความน่าจะเป็นในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ร้อยละ 52.86 อยู่ในระดับเป็นไปได้ พบ อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบผิวหนังได้มากที่สุดจำนวน 342 ราย (ร้อยละ 67.9) อาการไม่พึงประสงค์ ในระดับร้ายแรงพบร้อยละ 20.4 อาการไม่พึงประสงค์จากกระบวนการใช้ยาที่สามารถป้องกันได้ เป็นการ ได้รับยาที่ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้ร้อยละ 4.8 ผู้ป่วยได้รับยาที่มีวัตถุประสงค์การใช้ที่ไม่เหมาะสมร้อยละ 5.6 และการใช้ยาที่มีขนาด วิธีผสม วิธีบริหารยา ความถี่ที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะผู้ป่วยร้อยละ 4.6 พบ อาการไม่พึงประสงค์ซ้ำหลังได้รับการวินิจฉัยแล้วจำนวน 12 ราย มีสาเหตุมาจากการใช้ยาเองของ ผู้ป่วยจำนวน 2 ราย เกิดจากการใช้ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในเขตอำเภอ สอยดาวจำนวน 3 รายและเกิดจากระบบของโรงพยาบาลสอยดาวจำนวน 2 ราย โรงพยาบาลสอยดาว ดำเนินกิจกรรมซักประวัติอาการไม่พึงประสงค์ก่อนจ่ายยาทั้งในผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในทุกคนโดยให้การ วินิจฉัยและออกบัตรแพ้ยาทั้งในผู้ป่วยรายเก่าและรายใหม่รวมจำนวน 1,924 ใบเฉลี่ย 384.8 ใบต่อปี

สรุป : การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของโรงพยาบาลสอยดาวมีความชุกสูงกว่าโรงพยาบาล ชุมชนอื่น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับยาจากโรงพยาบาลสอยดาว ส่วนใหญ่เป็นยาปฏิชีวนะมีระดับความน่า จะเป็นในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ในระดับเป็นไปได้โดยพบอาการทางระบบผิวหนังได้บ่อยที่สุด เป็นอาการที่ไม่ร้ายแรงและเป็นการแพ้ยา

 

Prevalence and Classification of Adverse Drug Reaction at Soidao Hospital

Background : Insufficient of adverse drug reactions (ADRs) data to use as guidelines for the surveillance of drug used, to reduce the incidence of ADRs in Soidao Hospital.

Objective : To study the prevalence and classification of the type, symptom, severity, probability, drug group and source of drug that caused ADRs, and prevent­able ADRs in Soidao Hospital.

Method : Data were collected retrospectively in new cases of outpatients and inpatients from October 1, 2009 to September 30, 2014 with the total duration of 5 years.

Results : Total 464,952 of outpatients, ADRs occurred in 332 cases, representing a prevalence of 0.71 per thousand outpatient prescriptions. And 24,826 total of inpatients, ADRs occurred in 172 cases, representing a prevalence of 6.93 per thousand patients. Total incidence of ADRs 504 cases, mainly drug allergy 81.9 percent and side effects 17.7 percent. A majority of sources were Soidao Hospital 50.8 percent and clinic 16.3 percent from 717 suspected drugs. The most common drugs that caused ADRs were anti-infective drugs (258 items 35.98 percent). 52.86 percent of possible Naranjo’s probability scale was found and 342 cases (67.9 percent) were cutaneous ADRs. Serious ADRs was 20.4 percent. Incidence of the prevent­able ADRs caused by the use of drug that have a history of allergies 4.8 percent, the use of drug with inappropriate indication 5.6 percent and the use of drug with inappropriate dosage, administration, frequency according to the conditions of patients 4.6 percent. 12 cases of re-exposure drug that have history of ADRs, caused by the use of their own patients 2 cases, caused by the use of the primary care unit in Soidao district 3 cases and caused by Soidao hospital 2 cases. Soidao hospital has assessed the ADRs before prescribing and dispensing in outpatient and inpatient and released ADRs card to prevent the re-allergy total of 1,924 cards average 384.8 cards per year.

Conclusion : Higher prevalence of ADRs at Soidao Hospital than the other community hospitals. A majority of sources were Soidao hospital at possible level in Naranjo’s probability scale. The most is the cutaneous ADRs and the com­mon drugs that caused ADRs were anti-infective drugs.

Article Details

Section
Original Article