ผลของการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้าย ต่อการรับรู้สมรรถนะตนเองของพยาบาลวิชาชีพ และการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายแบบองค์รวม

Main Article Content

อรนุช มกราภิรมย์
อันธิกา คะระวานิช

Abstract

การดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตราดมีแนวทางการดูแลไม่ชัดเจน ร่วมกับสมรรถนะของพยาบาลทำให้ผู้ป่วยวาระสุดท้ายได้รับการดูแลไม่ครอบคลุมแบบองค์รวม

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายต่อการรับรู้สมรรถนะตนเองของพยาบาล วิชาชีพและการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายแบบองค์รวม

วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มภารกิจด้าน การพยาบาล โรงพยาบาลตราด จังหวัดตราด จำนวน 52 คน เลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้าย แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะตนเอง และแบบประเมินการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายแบบองค์รวม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเตรียมตัวกลุ่ม ตัวอย่างทุกคนให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้าย หลังจากนั้นให้กลุ่ม ตัวอย่างดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้าย จำนวน 20 คน ผู้วิจัยประเมินการรับรู้สมรรถนะตนเองของพยาบาล และประเมินผลการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้าย จำนวน 3 ครั้ง (ก่อน-หลังการใช้โปรแกรมและวัดซ้ำหลัง 4 สัปดาห์) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ repeated measures ANOVA

ผลการศึกษา : จำนวนพยาบาลวิชาชีพ 52 คน พบว่าพยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจการส่งเสริม สมรรถนะตนเองในการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายก่อนเข้าโปรแกรมเท่ากับ 62.51 หลังสิ้นสุดโปรแกรม ทันทีคะแนนเฉลี่ยความมั่นใจการส่งเสริมสมรรถนะตนเองในการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายเพิ่มขึ้นเป็น 106.56 และหลังสิ้นสุดโปรแกรม 4 สัปดาห์ คะแนนเฉลี่ยความมั่นใจการส่งเสริมสมรรถนะตนเองใน การดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายเพิ่มขึ้นเป็น 134.39 จำนวนผู้ป่วยวาระสุดท้าย 20 คน พบว่าคะแนนเฉลี่ยในการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายแบบองค์ รวมของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยก่อนเข้าโปรแกรม เท่ากับ 72.25 และคะแนนเฉลี่ยในการดูแล ผู้ป่วยวาระสุดท้ายแบบองค์รวมของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยหลังสิ้นสุดโปรแกรมภายใน 4 สัปดาห์ สูงขึ้นเป็น 94 ภายหลังการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้าย พยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้สมรรถนะตนเอง สูงขึ้นกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.001 และมีผลประเมินการดูแลผู้ป่วยวาระ สุดท้ายแบบองค์รวมสูงขึ้นกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.001

สรุป : ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายช่วยให้พยาบาลวิชาชีพ สามารถเพิ่มการรับรู้สมรรถนะตนเองและเพิ่มการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายแบบองค์รวมได้มากขึ้น ดังนั้นผู้ผู้บริหารทางการพยาบาลจึงควรส่งเสริม สนับสนุนให้นำโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายไป ใช้ในการสร้างเสริ มสมรรถนะตนเองของพยาบาลเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายต่อไป

 

The Effects of the End of Life Care Program on Nurse’ Self Efficacy and Holistic Care for End of Life Patients

Background : The palliative nursing care guidelines of Trat hospital are not clear. With the performance of nurses were not comprehensive, holistic care.

Objective : To examine the effects of end of life care program on nurse’s self efficacy and holistic care for end of life patients.

Method : This study employed a quasi experimental research. The sample enrolled in this study included fifty two nurses in nursing service organization at Trat hospital, Trat province were recruited to participate in the study. Instruments included end of life care program, perceived self-efficacy, and holistic care for end of life patient questionnaire. Nurses were prepared for providing holistic care for end of life patients and then taking care of 20 palliative patients. Perceived self-efficacy and holistic care for end of life patient were evaluated 3 times (pre-post test and 4 week follow up). Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, paired t- test, and repeated measures ANOVA.

Results : Showed that after implementing the end of life care program, perceived self-efficacy and holistic care for end of life patient were significantly higher than before implementing the program (p < 0.001).

Conclusion : The results showed positive effects of the end of life care program, therefore, nurse’s director should support the implementation of this program to improve quality of care, promote nurses’ self-efficacy and improve holistic care for end of life care patients.

Article Details

Section
Original Article