พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการ ของเด็กสมาธิสั้นในโรงพยาบาลจิตเวช นครราชสีมาราชนครินทร์

Main Article Content

วิภาวี รอดทรัพย์
สุวลี โล่วิรกรณ์

Abstract

ที่มาของปัญหา : ปัจจุบันพบว่า ปัญหาเด็กสมาธิสั้นกลายเป็นโรคที่พบมากสุดในคลินิกจิตเวช โรคสมาธิสั้น (ADHD) เป็นภาวะบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมอง ที่มีอาการหลักเป็นความผิดปกติทางด้าน พฤติกรรมใน 3 ด้าน ได้แก่ ขาดสมาธิที่ต่อเนื่อง ซนมากกว่าปกติ หรืออยู่ไม่นิ่ง และขาดการยั้งคิด หรือ หุนหันพลันแล่น การรักษาผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นต้องอาศัยการช่วยเหลือหลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ การให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ การช่วยเหลือทางด้านจิตใจ การช่วยเหลือในด้านการเรียนและการใช้ยา ปัญหา ทางด้านการการใช้ยาที่พบได้มาก คือ มีผลต่อการเบื่ออาหารของเด็ก น้ำหนักตัวลด ปวดศีรษะ และ นอนไม่หลับ ที่พบได้น้อยได้แก่ อารมณ์แปรปรวน ปวดท้อง ซึมเศร้า และแยกตัวออกจากผู้อื่น ปัญหา ดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องให้ความสำคัญ ปัจจุบันประชาชนยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับ โรคทางนี้มากนัก เด็กสมาธิสั้นจึงต้องได้รับการบริการทางการแพทย์ และการเอาใจใส่อย่างเป็นพิเศษ จากครอบครัว เพื่อให้สามารถพัฒนาร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม ไปในทางที่ดีใกล้เคียงเด็กปกติ นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กทั่วโลกมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินและขาด ซึ่งเป็นปัญหาคุกคามต่อ สุขภาพของเด็กในหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับประทาน อาหารไม่เพียงพอและไม่ถูกหลักโภชนาการ การเฝ้าระวังควบคุมภาวะโภชนาการไม่ให้มีภาวะ โภชนาการเกินมาตรฐาน และทัศนคติต่อการเลือกอาหารของพ่อแม่ เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดความ ชอบไม่ชอบของเด็ก พ่อแม่จึงเป็นแบบอย่างที่ดีในการบริโภคอาหารของเด็ก

วัตถุประสงค์ : การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ด้านโภชนาการของผู้ปกครองเด็กสมาธิสั้น ศึกษา ทัศนคติของผู้ปกครองที่มีต่อการบริโภคอาหารของเด็ก และศึกษาภาวะโภชนาการของเด็กสมาธิสั้น ในโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์

วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญคือผู้ปกครอง และเด็กสมาธิสั้น ที่มาเข้ารับการ บำบัดรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ อายุ 6 ถึง 12 ปี จำนวน 155 คน รวบรวม ข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การประเมินภาวะโภชนาการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป INMU Thai growth

ผลการศึกษา : ผลการศึกษา พบว่า เด็กสมาธิสั้นบริโภคอาหารครบ 3 มื้อ ร้อยละ 62.6 โดยมื้ออาหารส่วนใหญ่ ที่เด็กบริโภค คือ มื้อเย็น ร้อยละ 96.8 และอาหารมื้อเย็นเป็นมื้ออาหารที่บริโภคปริมาณมากที่สุด ร้อยละ 99.5 โดยอาหารมื้อเช้าเป็นอาหารประเภท หมูปิ้ง ข้าวเหนียวไก่ทอด ร้อยละ 36.8 มื้อเที่ยงเป็น อาหารประเภทข้าวราดแกง ร้อยละ 58.4 และมื้อเย็นเป็นอาหารประเภทข้าวพร้อมกับข้าวหลายๆ อย่าง ร้อยละ 76.7 นอกเหนือจากอาหารหลัก 3 มื้อแล้ว อาหารว่างที่เด็กสมาธิสั้นชอบบริโภคมากที่สุด คือ อาหารประเภทขนมกรุบกรอบ และพบว่าบริโภคบ่อยเกือบทุกวัน โดยบริโภคระหว่างมื้อเช้าและมื้อบ่าย ร้อยละ 40 และร้อยละ 41.2 ตามลำดับ ส่วนอาหารว่างระหว่างมื้อก่อนนอน เป็นนมจืดหรือ นมเปรี้ยว ร้อยละ 50 ด้านความรู้ทางด้านโภชนาการ พบว่าผู้ปกครองมีระดับความรู้ในเรื่องโภชนาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 85.2 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 15.68 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.01 ด้านทัศนคติต่อการบริโภคอาหาร พบว่า ผู้ปกครองมีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 32.3 และระดับปานกลางร้อยละ 67.7 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 3.56 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.20 ด้านความถี่ในการบริโภคอาหาร เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่บริโภค ข้าวเจ้าทุกวัน ร้อยละ 89.3 บริโภคข้าวเหนียว 1 ถึง 3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 70.3 บริโภคโปรตีนจาก เนื้อสัตว์ และนมสดทุกวัน ร้อยละ 66.5 และร้อยละ 40 ตามลำดับ และบริโภคเนื้อปลา 4 ถึง 6 วันต่อ สัปดาห์ ร้อยละ 49 บริโภคโปรตีนจากถั่ว 1 ถึง 3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 42 บริโภคอาหารที่ประกอบ ด้วยการผัด และการทอดทุกวัน ร้อยละ 50 ส่วนเนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ และอาหารที่ประกอบด้วย กะทิ พบว่า บริโภค 1 ถึง 3 วันต่ อสั ปดาห์ ร้อยละ 36.8 และร้อยละ 49.7 ตามลำดับ เด็กสมาธิสั้นบริโภค ผัก และผลไม้ทุกวัน ร้อยละ 45.2 และร้อยละ 42.6 ตามลำดับ บริโภคน้ำอัดลม และน้ำผลไม้ 1 ถึง 3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 46.6 ร้อยละ 49.7 ตามลำดับ และบริโภคอาหารขบเคี้ยวทุกวัน ร้อยละ 40 การประเมินภาวะโภชนาการของเด็กสมาธิสั้น พบว่าเด็กสมาธิสั้นมีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง (รูปร่างสมส่วน) ร้อยละ 68.4 (95% CI = 60.7–75.2) มีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุร้อยละ 67.1 (95%CI = 59.4–74.0) และมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุร้อยละ 69.0 (95%CI = 61.4-75.8)

สรุป : ผู้ปกครองมีระดับความรู้ในเรื่องโภชนาการอยู่ระดับสูง และมีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร อยู่ระดับปานกลาง ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กรับประทานอาหารเช้า ซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด โดยเน้น อาหารทุกมื้อให้ครบทั้ง 5 หมู่ ส่งเสริมให้เด็กรับประทานผลไม้ และผักเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้รับสารอาหาร และใยอาหารเพียงพอ และควรให้ลดการบริโภคอาหารประเภทขนมกรุบกรอบ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะโภชนาการเกิน

 

Food Consumption Behavior and Nutritional Status of Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) At Nakhon Ratchasima Rajanagarindra Psychiatric Hospital

Background : Nowadays, Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) is the most found disease in psychiatric clinics. It is the state of metal malfunction which includes 3 main symptoms: continually inattentive, over active or unable to stay still and incautious or impulsive. Various methods are needed for the treatment of ADHD: instruction for parents, mental aid, educational aid and medicine use. Common more of drug affecting loss of appetite, weight loss, insomnia, headaches and mood swings are rare abdominal pain, depression, and isolation from others. The parents need to give priority to this problem and most people do not have knowledge about this disorder. Therefore, the kids who have ADHD need to have medical treatment and special care from family. This is to improve their intelligence, temper and social to be similar to normal kids. They also found that children around the world have problems with overweight and undernourished. Which is a threat to the health of children in many countries. Including Thailand as well This is caused by not eating enough and is nutritious. Nutrition surveillance to overweight standard. The attitude on food of parents influences kids to like or dislike any foods. The patents should be the best roll model for their kids.

Objective : The purpose of this study was to the nutritional knowledge of parent ADHD children. Attitudes towards food consumption of parents ADHD children. And study was to nutritional status of at Nakhon Ratchasima Rajanagarindra Psychiatric Hospital.

Methods : This study is a descriptive research. The subjects were 155 patients aged 6-12 years old attending health service at Nakhon Ratchasima Rajanagarindra Psychiatric Hospital. Information was obtained using questionnaires. The data were analyzed using of descriptive statistics and presented as percentage, mean and standard deviation. The nutritional status was analyzed using the INMU Thai growth program.

Results : The results showed that 62.6 percent of ADHD children had 3 meals a day. The most consumed meal was dinner accounted for 96.8 percent. The highest amount of food was also dinner (99.5 percent). The most eaten breakfast was grilled pork and fried chicken with sticky rice (36.8 percent). Rice with curry was the most eaten food for lunch (58.4 percent). Various kinds of food were consumed for dinner (76.67 percent). Besides snacks was reportedly the most eaten food in the ADHD children. It was consumed almost every day. 40 percent of ADHD children ate snacks between breakfast and lunch. 41.2 percent ate snacks in the afternoon. 50 percent of ADHD children consumed plain milk and curd before going to bed. 85.2 percent of parents had high level of nutritional knowledge with 15.68 score for mean and 3.01 for standard deviation. 32.3 percent of parents had high level of consumption attitude and 67.7 percent of parents had medium level of consumption attitude. The mean score was 3.56 and standard deviation was 0.20. The frequency of consumption food showed that 89.3 percent of ADHD children ate rice every day and 70.3 percent ate sticky rice 1-3 days a week. 66.5 percent of ADHD children ate protein from meat and 40 percent ate milk every day. 49 percent of ADHD children ate fish meanwhile, 42 percent of ADHD children ate protein from beans 1-3 days a week. 50 percent of ADHD children ate stir-fried food and fried food respectively. And 36.8 percent and 49.7 percent of them ate streaky meat and coconut milk 1-3 days a week, respectively. 45.2 percent and 42.6 percent of them ate vegetables and fruits every day, respectively. 46.6 percent and 49.7 percent of them drank soda and juice 1-3 days a week, respectively. 40 percent of them ate snacks every day. The nutritional assessment result showed that the weight of ADHD children was in the proportion to their height 68.4 percent (95% CI = 60.7–75.2). 67.1 percent (95%CI = 59.4–74.0) of them had height that met the age criteria and 69.03 percent (95%CI = 61.4–75.8) of them had weight that met age criteria.

Conclusion : In conclusion, the parents had high level of nutrition knowledge. And parents had medium level of consumption attitude. Parents should encourage the children to consume breakfast. This is the most important meal focus on the 5 group with each meal to encourage children to consume more fruits and vegetables for promoting health and decrease snacks as it could cause over nutrition.

Article Details

Section
Original Article