เปรียบเทียบการตอบสนองอัตโนมัติ ต่อความเครียดของแม่ขณะลูกถูกเจาะเลือด เมื่อลูกกำลังดูดนมแม่และหลังจากให้ลูกดูดนมแม่แล้ว

Main Article Content

บุณยาพร พันธิตพงษ์
ยศพล เหลืองโสมนภา

Abstract

ที่มาของปัญหา : การเจาะเลือดทารกขณะกำลังดูดนมแม่ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดความเจ็บปวดในทารกได้อย่าง ปลอดภัยและเป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวนี้อาจเป็นการสร้างความเครียดให้กับแม่ได้ การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาความเครียดของแม่ที่กำลังให้นมลูก และต้องเห็นลูกถูกเจาะเลือด โดย ผ่านการประเมินจากการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของ 1) อัตราการเต้นของหัวใจ 2) ความดันโลหิต และ 3) O2 saturation ของแม่ขณะที่ลูกถูกเจาะเลือดในแม่ที่กำลังให้ลูกดูดนมกับแม่ที่เพิ่งให้นมลูกอิ่มใหม่ๆ ไม่เกิน 10 นาทีและแม่ที่ให้นมลูกอิ่มมานานเกิน 1 ชั่วโมงแล้ว

วิธีการศึกษา : ศึกษาในแม่ของทารกแรกเกิดครบกำหนดจำนวน 75 คนที่ลูกต้องถูกเจาะเลือดตามกระบวนการ ดูแลทารกตามปกติที่อายุ 48 ชั่วโมง โดยจะถูกจับสลากแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ลูกถูกเจาะเลือด ขณะกำลังดูดนมแม่ กลุ่มที่ 2 ถูกเจาะเลือดหลังเพิ่งดูดนมแม่อิ่มไม่เกิน 10 นาที และกลุ่มที่ 3 ถูก เจาะเลือดขณะที่ไม่ได้ดูดนมแม่มานานเกิน 1 ชั่วโมงแล้ว แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงโดยแม่ในกลุ่มที่ 2 และ 3 ไม่ได้อยู่ด้วยในขณะที่ลูกถูกเจาะเลือด วัดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจและค่า O2 saturation ในระยะก่อนเจาะเลือดลูก ขณะลูกถูกเจาะเลือด และหลังลูกถูกเจาะเลือดทุก 15 นาที จนถึง 1 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา Kruskal Wallis test และ Mann - Whitney U test

ผลการศึกษา : 1) แม่กลุ่มที่ให้ลูกดูดนมแม่ในขณะถูกเจาะเลือด กลุ่มที่ลูกถูกเจาะเลือดหลังจากดูดนมแม่อิ่มแล้ว ไม่เกิน 10 นาที และกลุ่มที่ลูกถูกเจาะเลือดหลังจากดูดนมแม่อิ่มแล้ว 1 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงมี อัตราการเต้นของหัวใจและค่า O2 saturation ในขณะก่อนที่ลูกถูกเจาะเลือด ขณะที่ลูกถูกเจาะเลือด และหลังจากลูกถูกเจาะเลือดที่ 15, 30, 45 นาที และ 1 ชั่วโมงไม่แตกต่างกัน 2) แม่กลุ่มที่ให้ลูกดูดนมแม่ในขณะถูกเจาะเลือด กลุ่มที่ลูกถูกเจาะเลือดหลังจากดูดนมแม่อิ่มแล้ว ไม่เกิน 10 นาที และกลุ่มที่ลูกถูกเจาะเลือดหลังจากดูดนมแม่อิ่มแล้ว 1 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงมีค่า mean arterial pressure ในขณะก่อนที่ลูกถูกเจาะเลือด และหลังจากลูกถูกเจาะเลือดที่ 15, 30, 45 นาที ไม่แตกต่างกัน แต่ทั้งสามกลุ่มค่ามี mean arterial pressure ในขณะลูกถูกเจาะเลือดและหลังลูก ถูกเจาะเลือด 1 ชั่วโมง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 โดยกลุ่มที่มีความแตก ต่างกันได้แก่ แม่กลุ่มที่ให้ลูกดูดนมแม่ในขณะถูกเจาะเลือด กับกลุ่มแม่ที่ลูกถูกเจาะเลือดหลังจากดูด นมแม่อิ่มแล้วไม่เกิน10 นาที และแม่กลุ่มที่ให้ลูกดูดนมแม่ในขณะถูกเจาะเลือด กับกลุ่มที่ลูกถูกเจาะ เลือดหลังจากดูดนมแม่อิ่มแล้ว 1 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่มีแม่รายใดที่มีความดันโลหิตเพิ่ม ขึ้นจนถึงระดับมีความสำคัญทางคลินิก

สรุป : แม่ที่ให้ลูกดูดนมแม่ขณะถูกเจาะเลือดมีค่า mean arterial pressure ในขณะที่ลูกถูกเจาะเลือด สูงกว่าแม่ที่ไม่ได้เห็นลูกถูกเจาะเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีแม่รายใดที่มีความดันโลหิตเพิ่ม ขึ้นจนถึงระดับมีความสำคัญทางคลินิก การให้ลูกดูดนมแม่ขณะถูกเจาะเลือดเพื่อลดความเจ็บปวดในทารก น่าจะเป็นวิธีการที่เป็นไปได้ในแม่ที่มีความต้องการ โดยไม่ได้ทำให้แม่มีการตอบสนองของระบบ ประสาทอัตโนมัติต่อความเครียดเพิ่มขึ้นอย่างมีความสำคัญทางคลินิก

 

Comparative Study of Maternal Autonomic Responses to Stress Toward their Baby’s Venipuncture During and After Breastfeeding. Randomized Controlled Trial

Background : Although, pediatric venipuncture during breast feeding is decreased pain intensity in neonatal safely, it might heighten maternal stress. In other words, mothers who experience a pediatric venipuncture during their breastfeeding might be more stressful than those who do not experience. Consequently, we would explore the maternal stress by measuring their autonomic nervous responses (ANRs).

Objective : The aim of study was to compare maternal ANR including heart rate (HR), mean arterial pressure (MAP), and O2 saturation (O2 Sat) among women who were admitted in a post-partum ward of a tertiary hospital.

Methods : 75 mothers were randomized into the three comparable groups based on when the pediatric venipuncture were performed as follows: 1) during their breastfeeding; 2) on 10 minutes after their breastfeeding and 3) during 1-2 hours after their breastfeeding. Specifically, the mothers in group 2 and 3 did not stay with their baby during the venipuncture. The maternal HR, MAP and O2 sat were measured at before, during, and after venipuncture in every 15 minutes until 1 hour. The data were analyzed using the Kruskal Wallis Test and Mann-Witney U Test.

Results : The findings showed that there were no significant differences in means of maternal HR and O2 sat among the three comparable groups. Conversely, there were statistically significant differences in mean of maternal MAP among 3 groups when the MAPs were measured during and 1 hour after the venipuncture. Based on clinical judgment criteria, there were no clinically significant differences in mean of maternal HR, MAP and O2 sat, respectively.

Conclusion : With 3 different baby’s venipuncture situations, mother’s autonomic nervous responses did not have clinically meaningful change. This can be concluded that pediatric venipuncture during breast feeding do not increase maternal stress. Consequently, health care providers should apply this method in case an infant need to be venipunctured.

Article Details

Section
Original Article