การเฝ้าระวังสุขภาพผู้ร่วมเก็บกู้คราบน้ำมัน และฟื้นฟูชายหาดอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง

Main Article Content

สุนทร เหรียญภูมิการกิจ
จันทร์ทิพย์ อินทวงค์
นัยนา พันโกฏิ

Abstract

ที่มาของปัญหา : วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 น้ำมันดิบรั่วและถูกพัดเข้าหาดอ่าวพร้าว มีผู้เข้าร่วมเก็บกู้น้ำมัน ดิบและฟื้นฟูสภาพชายหาดจำนวนมาก ซึ่งมีความเสี่ยงจากการสัมผัสน้ำมันดิบหรือไอน้ำมัน จึงได้ตรวจ สุขภาพเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานและเฝ้าระวังต่อเนื่อง 5 ปี

วัตถุประสงค์ :    
1. ประเมินการสัมผัสและผลกระทบต่อสุขภาพ
2. พัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว

วิธีการศึกษา : 1) รวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงาน การป้องกันตนเอง อาการ และอาการแสดง 2) ประเมินการ สัมผัสแบ่งเป็นสัมผัสมาก ปานกลาง น้อย 3) ตรวจ CBC, SGOT, SGPT, BUN, Creatinine, CXR 4) ตรวจ CBC กลุ่มสัมผัสมากทุก 3 เดือน และ ตรวจ CBC, SGOT, SGPT, BUN, Creatinine เมื่อ ครบ 12 เดือน 5) จัดระบบติดตามตรวจสุขภาพผู้สัมผัส

ผลการศึกษา : ผู้เก็บกู้น้ำมันดิบ 2,409 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 89.50 อายุระหว่าง 12 ถึง 76 ปี (เฉลี่ย 32.52 ปี) ทหาร ร้อยละ 47.90 พนักงานสถานประกอบการ ร้อยละ 31.34 มีอาการแสบจมูกทุก ราย เวียนศีรษะ ร้อยละ 15.69 แสบตา ร้อยละ 12.37 แสบคอ ร้อยละ 7.31 กลุ่มสัมผัสมากสวมชุด ป้องกันสารเคมี ร้อยละ 72.34 รองเท้ากันสารเคมี ร้อยละ 65.58 ถุงมือกันสารเคมี ร้อยละ 52.29 หน้ากากกรองสารเคมี ร้อยละ 42.13 อาบน้ำก่อนกลับบ้าน ร้อยละ 23.13 ทำความสะอาดร่างกายหลัง เสร็จงาน ร้อยละ 41.85 ถอดชุดถูกวิธี ร้อยละ 44.81 ค่า SGOT และ SGPT กลุ่มสัมผัสมากผิดปกติ มากกว่ากลุ่มสัมผัสน้อยอย่างมีนัยสำคัญ (Prevalence Ratio [PR]=2.80, 95%CI=2.18-3.59 และ PR=1.68, 95% CI=1.34-2.12) ตรวจกลุ่มสัมผัสมากทุก 3 เดือนสามารถได้ติดตามได้ ร้อยละ 23.94, 10.05, 7.06 และ 7.67 ในแต่ละไตรมาส การตรวจสุขภาพระยะยาวสามารถเข้ารับบริการได้ที่สถาน บริการของรัฐทุกแห่ง

สรุป : การระคายเคืองทางเดินหายใจและเยื่อบุตาเป็นอาการหลักระยะเฉียบพลัน การใช้อุปกรณ์ ป้องกันตนเองยังไม่เหมาะสมโดยเฉพาะกลุ่มสัมผัสมาก การทำงานของตับผิดปกติสัมพันธ์กับระดับ การสัมผัส การติดตามกลุ่มสัมผัสมาก 1 ปี พบปัญหาการมาตรวจสุขภาพลดลงมาก การเฝ้าระวังระยะ ยาวอาจต้องใช้ข้อมูลจากเฝ้าระวังอื่นๆร่วมด้วย เช่น การใช้ทะเบียนมะเร็งเพื่อติดตามการเกิดมะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งปอด

 

Health Surveillance for Oil Spill Responders, Praw Bay, Samet Island, Rayong Province

Background : During oil spill responding, July 28-August 23, 2013, there were many responders requiring physical examination and long term surveillance.

Objectives : 1) to assess exposure and health effect 2) to conduct and develop long term health surveillance.

Methods : 1) Symptoms, working conditions, protective equipment and safety behaviors were collected by questionnaire. 2) Level of exposure was classified into high, medium and low. 3) Blood specimen was collected for CBC, SGOT, SGPT, BUN, Creatinine and baseline CXR was done for future comparison purpose. 4) For high exposed group, CBC was repeated every 3 months in the first year and SGOT, SGPT, BUN, Creatinine were done in the end of first year. 5) Follow up system was conducted for 5 years surveillance.

Results : Of 2,409 responders, 89.50 percent were male, 47.90 percent were soldiers and 31.34 percent were industrial workers. Mean age was 32.52 years (12-76 years). Symptoms included nose pain (100 percent), dizziness (15.69 percent) and eye pain (12.37 percent). Protective equipment use in high exposed group was suite (72.34 percent), shoes (65.58 percent), glove (52.29 percent), and mask (42.13 percent). SGOT and SGPT levels in high exposed group were higher than that in medium exposed group and low exposed group (Prevalence Ratio [PR]=2.80, 95%CI=2.18-3.59 and PR=1.68, 95% CI=1.34-2.12, respectively). Follow-up rates in the first year were 23.94 percent, 10.05 percent, 7.06 percent and 7.67 percent for each trimester respectively. Responders can do follow-up at any governmental hospital in their province.

Conclusion : During follow up check, respiratory irritation tract, eye and dizziness were the most common health effects. Personal protective equipment was inappropriately used. Abnormal liver function was associated with level of exposure group. The first year follow-up rate was very low, so long term surveillance needs appropriate and effective communication and may need data from other surveillances such as national cancer registry for detecting leukemia and lung cancer.

Article Details

Section
Original Article