การพัฒนาพฤติกรรมสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

อรัญญา บุญธรรม
โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ
ธันยาพร บัวเหลือง
เชษฐา แก้วพรม
คมวัฒน์ รุ่งเรือง

Abstract

ที่มาของปัญหา : การสะท้อนคิดเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาพยาบาลดังนั้นอาจารย์จึงควรพัฒนากลยุทธ์ การสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดพฤติกรรมดังกล่าว

วัตถุประสงค์ : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างต่อการพัฒนา พฤติกรรมสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่ม วัดก่อน–หลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปี ที่ 2 จำนวน 27 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากนักศึกษาที่ฝึกภาคทดลองวิชาการสอนและการให้ คำปรึกษาทางสุขภาพ โดยหลังสิ้นสุดการเรียนแต่ละครั้งอาจารย์ประจำกลุ่มจะนำนักศึกษามารวมกลุ่มเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ตามลำดับขั้นของการสะท้อนคิด เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบวัดพฤติกรรมสะท้อนคิดที่มีค่าความเชื่อมั่นภายในเท่ากับ .96 และรายงานสรุปการ เรียนรู้หลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ paired t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อน-หลัง และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการอ่านวิเคราะห์แก่นสาระ

ผลการศึกษา : ผลการวิจัยพบว่าหลังเข้าร่วมกลุ่มสนทนาอย่างมีโครงสร้างนักศึกษามีระดับพฤติกรรมสะท้อน คิดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.48, p < 0.001) และผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ นักศึกษาเห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวช่วยให้เกิดการพัฒนาความมั่นใจในตนเอง การตระหนักรู้ในตนเอง การคิดวิเคราะห์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการเรียนรู้ และการปรับตัวเข้าสู่ วิชาชีพพยาบาล

สรุป : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการสนทนาอย่างมีโครงสร้างตามลำดับขั้นตอนของการสะท้อนคิด เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยพัฒนาทักษะสะท้อนคิด กิจกรรมดังกล่าวนอกจากการช่วยส่งเสริมกระบวนการ คิดวิเคราะห์แล้ว ยังก่อให้เกิดผลการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ ที่เอื้อให้นักศึกษามีสมรรถนะตามที่หลักสูตร กำหนด

 

Development on Reflective Clinical Skills of Nurse Students

Background : Reflection skills is necessary for nurse students so nurse educators should develop teaching strategies to improve such skills.

Objective : This research aimed to examine the effectiveness of structured group discussion on reflection skills among nursing students.

Method : Qausi-experimental research was utilized. The subjects were 27 second-year nursing students, recruited by a purposive sampling. The study was undertaken during a lab-based class of the subject ‘Teaching and Counseling in Health. After each session, nurse educator set a group of students so that those had a discussion according to a reflective cycle. Research instruments were; the scale of reflective behaviors with an internal reliability of .96, and an after class learning journal. Data were analyzed using paired t-test for mean comparison, and a thematic analysis for qualitative data analysis.

Results : The findings reveal that, after engaging in structured group discussion, nursing students reported a significant increase in reflective behaviors (t = 4.48, p < 0.001). Based on qualitative data analysis, also, the students highlighted the improvement of self-confidence, self-awareness, critical thinking, communication skill, team work skill, learning skill, and nursing professional adaptation.

Conclusion : The findings indicate that structured group discussion based on a reflective cycle is considered an effective activity to improve reflective skills among nursing student. It can promote not only critical thinking, but also other learning outcome to have competences as required by the curriculum.

Article Details

Section
Original Article