ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การ กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว

Main Article Content

สุรีพร สกุณี
ปิยธิดา ตรีเดช
สุคนธา ศิริ
ศักดา ตรีเดช

Abstract

ที่มาของปัญหา : บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานของ ระบบบริการสุขภาพ ดังนั้น แนวคิดการพัฒนาองค์การผู้บริหารจำเป็นต้องให้ความสำคัญและเอาใจใส่ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรในที่ทำงานและการดูแลเอาใจใส่ต่อทรัพยากรมนุษย์

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความผูกพันต่อองค์การ และคุณภาพชีวิตการ ทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว

วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จำนวน 256 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไค-สแควร์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการศึกษา : ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว มีระดับความคิดเห็นต่อ คุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.44, SD = 0.50) และความผูกพันต่อ องค์การของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับสูง (Mean = 3.80, SD = 0.59) ปัจจัยส่วนบุคคล คือ อายุ และ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงาน (p < 0.05) เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา วิชาชีพ หน่วยงานที่ปฏิบัติงาน สภาพการจ้างงาน ระดับตำแหน่ง ไม่มีความสัมพันธ์ กับคุณภาพชีวิตการทำงาน ปัจจัยด้านความผูกพันต่อองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต การทำงานโดยรวมในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.712, p < 0.001) ดังนั้นผู้บริหารควรมีการกำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานพัฒนาระบบบริหาร จัดการค่าตอบแทนและสวัสดิการสำหรับตำแหน่งงานต่างๆ อย่างเป็นธรรม ให้มีความเหมาะสมกับ สภาวการณ์ครองชีพในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ตามผลการปฏิบัติงานทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ของงานในแต่ละวิชาชีพ และตำแหน่งงานต่างๆของบุคลากร และส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับมีส่วน ร่วมในการวางแผน ร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน รูปแบบของกิจกรรม ให้ สอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาล และให้บุคลากรรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์การ

 

The Relationship Between Organization Commitment and Quality of Work Life of Sakaeo Crown Prince Hospital’s Personnels

Background : Medical and health personnel are important human resources who play an important role in a health service system. Thus the caring for human resources and improvement of the quality of their work life should be taken into consideration by the administrators as a significant issue for organizational development.

Objective : The objective is to study the relationship between hospital personnel’s characteristics and organization commitment with quality of work life of the personnel of Sakaeo Crown Prince Hospital.

Methods : This study was a descriptive survey research. The sample were consisted of 256 personnels who have been working in the hospital. The data were collected in August 2014 using self administered questionnaires. Data analysis was performed using descriptive statistics, standard deviation, Chi-square, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.

Results : The study found that the personnel at the Sakaeo Crown Prince Hospital had opinions regarding their overall quality of work life at medium level (mean = 3.44, SD = 0.50). Overall organization commitment was at a high level (mean = 3.80, SD = 0.59). Personal characteristics such as age and duration of work, had a relationship with the quality of work life (p < 0.05); gender, marital status, education, profession, working unit, condition of employment and level of the position had no relationship with quality of work life. Organization commitment had positive relationship with the overall quality of work life at high level of statistical significance (r = 0.712, p < 0.001). The researcher recommended that the hospital administrator should advocate policies to promote the quality of work life; improve wage payment and a welfare system for all personnel, the system should be impartial, appropriate and consistent with present costs of living also in accordance with the performance of all personnel both in quantity and quality There should also be the encouragement and promotion for every personnel to take part in the planning and setting up the guidelines for the improvement of quality of work life of the personnel. The format of the activity should be appropriate with the context of the hospital and could create homogeneity between the personnel and the hospital.

Article Details

Section
Original Article