ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลเท้าตนเอง ของผู้ที่เป็นเบาหวานในชุมชนบ้านคลองเหล็กบน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

วรรณศิริ ประจันโน
ราตรี อร่ามศิลป์
ปิ่นนเรศ กาศอุดม

Abstract

ที่มาของปัญหา : โรคเบาหวานที่มาพร้อมภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง มีผลต่อการดำเนินชีวิต ค่าใช้จ่าย และ ภาพลักษณ์ของผู้ป่วยเบาหวาน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถดำรงชีวิตอยู่กับโรคที่เป็น และไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ หากสามารถดูแลตนเองได้ดี

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลโปรแกรมส่งเสริมการดูแลเท้าตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน

วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชุมชนบ้านคลองขี้เหล็กบน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุมกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามประเมิน ความรู้โรคเบาหวาน การดูแลเท้า และแบบประเมินความสามารถในการประเมินเท้าตนเอง

ผลการศึกษา : ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ค่าคะแนนความรู้โรคเบาหวานสูงกว่าก่อนเข้า ร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.871, p < 0.001) 2) หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ค่าคะแนนความรู้การดูแลเท้าสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.236, p < 0.001) 3) หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ค่าความสามารถในการประเมินเท้าตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วม โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.959, p < 0.001) 4) ความแตกต่างค่าคะแนนความรู้โรค เบาหวาน การดูแลเท้า และความสามารถในการประเมินเท้าตนเอง ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่ม ควบคุม พบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01, p < 0.05 และ p < 0.001 ตามลำดับ)

สรุป : การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรมีการนำโปรแกรมฯ ที่พัฒนาไปดำเนินการในชุมชนอื่นๆ เพื่อส่ง เสริมการดูแลเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

Effects of a Self-Foot Care Program for People with Diabetes in Klonglekbon Community Thamai District, Chanthaburi Province

Background : Diabetes with complications can affect daily life, cost of living and an image of patients. However, one can live with the disease and avoid possible complications if s/he practices good self care.

Objectives : Research was to examine the effects of a self-foot care program for diabetes patients in community.

Method : The sample were 60 diabetes patients in Klonglekbon community Thamai district, Chanthaburi province, divided into 2 groups—an experimental group (30 samples) and a control group (30 samples). A self-administered questionnaire was used to collect data regarding knowledge about diabetes (r = 0.58) and foot care (r = 0.64). Also, an evaluation checklist was employed to collect data regarding the ability in self-assessment on foot condition. Data were collected before and after implementing the program. Descriptive statistics (frequency, percent, mean, and standard deviation) and analytical statistics (paired t- test and Independent t-test) were applied for data analysis.

Results : The results found that after participating in the program: 1) average scores of knowledge about diabetes, foot care, and the ability in self-assessment on foot condition were significantly higher than those before participating in the program (t = 4.871, p < 0.001, t = 5.236, p < 0.001, t = 3.959, p < 0.001, respectively); and 2) average scores of knowledge about diabetes, foot care, and the ability in self-assessment on foot condition in an experimen­tal group were significantly higher than those in a comparison group (t = 3.493, p < 0.01, t = 2.284, p < 0.05 and t = 5.397, p < 0.001, respectively)

Conclusion : This study suggested that the developed program should be implemented in other communities to promote self-foot care among diabetes patients.

 

Article Details

Section
Original Article