ผลของรูปแบบการฟื้นฟูสภาพโดยใช้การรักษาทางเลือกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

Main Article Content

เสาวภา เด็ดขาด

Abstract

ที่มาของปัญหา : ปัจจุบันการรักษาทางเลือกได้รับความสนใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การศึกษาผลของการรักษาทางเลือกในประเทศไทย โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองยังไม่มี ความชัดเจน

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการรักษาทางเลือกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เข้า รับการรักษา ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยอัมพฤกษ์ - อัมพาต และปฏิบัติธรรม วัดทุ่งบ่อแป้น อำเภอ ห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จำนวน 60 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่าง ยินยอมเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการรักษาทางเลือก และแบบ ประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้แบบ ประเมิน bathel index สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวแบบวัดซ้ำและสถิติบอนเฟอร์โรนี

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 53.3 เป็นเพศชาย และ ร้อยละ 46.7 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยของกลุ่ม ตัวอย่าง เท่ากับ 59.9 (SD 11.01) ระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ส่วนใหญ่ ร้อยละ 60 ป่วยเป็นระยะเวลา น้อยกว่า 1 ปี รองลงมาคือ ร้อยละ 20 ป่วยเป็นระยะเวลา 1 – 2 ปี ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) 3 ครั้ง คือ เมื่อแรกรับเข้ารักษา หลังรับการรักษา 1 เดือน และหลังรับการรักษา 3 เดือน ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของการวัดทั้ง 3 ครั้ง มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.001 และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ ผล การวิเคราะห์พบว่า ค่าเฉลี่ยของ ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันหลังรับการรักษา 1 เดือน เพิ่มขึ้นจากแรกรับเข้ารักษา และหลังรับการรักษา 3 เดือน เพิ่มขึ้นจากหลังรับการรักษา 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

สรุป : รูปแบบการรักษาทางเลือกที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีประโยชน์ในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมอง โดยสามารถเพิ่มความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยได้ ซึ่งนำไปสู่การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

Effects of Rehabilitation Program Using Complementary Therapy in Stroke Patients

Background : Complementary therapy has increased in popularity among stroke patients. However, little is known about the effects of complementary therapy used for stroke patients in Thailand.

Objective : To explore the effects of the rehabilitation program using complementary therapy among stroke patients.

Method : This study employed a quasi-experimental study. The sample enrolled in this study included 60 stroke patients admitted in Thung Bo Paen Rehabilitation Center, Lampang Province. A purposive sampling method was used for selecting the sample. The Bathel Index was used to assess activities of daily living (ADL). Descriptive statistics the ANOVA repeated measures, and the Bonferroni method were utilized for data analysis.

Results : 53.3 percent of the sample were male and 46.7 percent of those were female. The average age of the sample was 59.9 years (SD 11.01). 60 percent of the samples had duration of stroke less than 1 year and 20 percent of those had duration of stroke 1-2 year. The ADL among 3 different times (admis­sion, one month, and three months) were significantly different (p < 0.001). The one-month ADL was significantly higher than admission ADL and the three-month ADL was significantly higher than the one-month ADL (p < 0.001).

Conclusion : Results from this study indicate that the specific rehabilitation program used in this study is beneficial in stroke rehabilitation by increasing ADL that consequently improves quality of life among stroke patients.

Article Details

Section
Original Article