การตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่น : ปัจจัยทางด้านมารดาที่มีผลต่อทารก

Main Article Content

ปัญญา สนั่นพานิชกุล
ยศพล เหลืองโสมนภา

Abstract

ที่มาของปัญหา : หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย และเป็นสาเหตุชักนำให้อัตราตาย และทุพพลภาพของมารดา และทารกเพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาข้อมูลของมารดาและภาวะแทรกซ้อนของทารกเปรียบเทียบระหว่างหญิงตั้งครรภ์ วัยรุ่น กับหญิงตั้งครรภ์วัยปกติที่มาคลอด ณ โรงพยาบาลพระปกเกล้า

วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการเก็บข้อมูลวิเคราะห์ย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนการคลอดของหญิง ตั้งครรภ์เดี่ยวอายุน้อยกว่า 35 ปีทุกคนที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลพระปกเกล้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2556 ถึง วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2556 ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาแยกกลุ่มเพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ของมารดา และทารกเปรียบเทียบระหว่างหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและหญิงตั้งครรภ์วัยปกติ โดยใช้สถิติ unpair t-test, การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร

ผลการศึกษา : จำนวนหญิงตั้งครรภ์ในการศึกษานี้คือ 1,683 คน พบเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นร้อยละ 18.4 ส่วนมากหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมักเป็นครรภ์แรก และอาศัยอยู่ในเมืองจากการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์น้อย พบมีการเพิ่มน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ได้น้อย มีจำนวนการฝากครรภ์ ครบน้อย แต่พบภาวะโลหิตจางมากกว่า อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับหญิงตั้งครรภ์วัยปกติ พบหญิง ตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความเสี่ยง 1.68 เท่าที่จะให้กำเนิดทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อย (Adjust Odd Ratio[OR] 1.685, 95% confidence interval [CI] 1.169-2.429, p-value 0.005) หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นจะมีความ เสี่ยง 1.75 เท่าที่ทารกจะคลอดก่อนกำหนด (Adjust OR 1.751, 95%CI 1.236-2.482, p-value 0.002) มีความเสี่ยง 3.59 เท่าที่ทารกจะเสียชีวิตในครรภ์ (Adjust OR 3.585, 95%CI 1.249-10.287, p-value 0.018) และพบหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีภาวะโลหิตจางเป็น 2.38 เท่า เมื่อเทียบกับหญิงตั้งครรภ์วัยปกติ

สรุป : หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นเพิ่มความเสี่ยงที่จะมีทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ทารกตายคลอด และ ภาวะซีดของมารดาสูงกว่าหญิงตั้งครรภ์วัยปกติ ควรที่จะมีแผนในการป้องกัน ตั้งแต่ยังเป็นวัยเด็ก และรวมทั้งพัฒนาการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นเพื่อบูรณาการ เป็นการพัฒนา สาธารณสุขขั้นพื้นฐาน

 

Adolescent Pregnancy: Maternal Factors Effect on Fetal Outcomes

Background : Teenage pregnancy is increased in Thailand and leads to increase in maternal and fetal mortality and morbidity.

Objective : To compare maternal factors and fetal adverse outcome between teenage and normal age pregnancy in Prapokklao hospital.

Method : This was a retrospective analytic study. Data was collected from medical record of all singleton pregnant women of aged below 35 years old who delivered at Prapokklao hospital during January,1 2013 to June, 30 2013. Maternal and neonatal data were compared between teenage pregnancy and normal age pregnancy using unpair t-test, chi-square test and multivariate logistic regression.

Results : One thousand six hundred and eighty three pregnant women were recruit­ed. The rate of teenage pregnancy in this study was 18.4 percent. Most of the teenage pregnancy were primiparous and stay in urban.When compared to the normal age pregnant women, teenage pregnancy significantly showed lower prepregnancy body mass index, less weight gain during pregnancy, less completion of antenatal care program and lower percent of hematocrit. Teenage pregnancy caused 1.68 more risk for low birth weight (Adjust Odd Ratio[OR] 1.685, 95 % confidence interval [CI] 1.169-2.429, p-value 0.005), 1.75 times more risk for preterm birth (Adjust OR 1.751, 95%CI 1.236-2.482, p-value 0.002) and 3.59 times more risk for stillbirth (Adjust OR 3.585, 95%CI 1.249-10.287, p-value 0.018).Anemia in teenage pregnancy found 2.38 times more risk when compared to normal age pregnancy.

Conclusion : Preterm birth, low birth weight, stillbirth and maternal anemia were all as­sociated with greater risk of teenage pregnancy. A suggestion of an effec­tive campaign for girls and teenage pregnant women as an integral part of primary health care should be promoted.

Article Details

Section
Original Article