การศึกษาต้นทุนหน่วยบริการ Unit Cost แบบ Modified Full Cost ของโรงพยาบาลเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ 2556 เปรียบเทียบปีงบประมาณ 2557

Main Article Content

วนิดา ริ้วสุวรรณ

Abstract

ที่มาของปัญหา : ปีงบประมาณ 2556 พบว่าโรงพยาบาลประสบปัญหาทางการเงินขาดสภาพคล่องอย่างมากมีจำนวนร้อยละ 20.10 (167 ใน 831 แห่ง) ซึ่งในภาพรวมโรงพยาบาลที่มีปัญหาการบริหารประสิทธิภาพ ต้นทุนมีจำนวนร้อยละ 31.90 (265 ใน 831 แห่ง) ดังนั้นการวิเคราะห์ต้นทุนบริการ จึงถือเป็นตัวชี้วัด ที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ และในอนาคตอันใกล้นี้กระทรวงสาธารณสุขจะใช้ข้อมูลต้นทุนบริการ ในการกำกับติดตามการดำเนิน งานควบคุมต้นทุนต่อหน่วยของโรงพยาบาล และใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายการจัดสรร งบประมาณให้กับโรงพยาบาล ผู้บริหารของโรงพยาบาลเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงรายได้เล็งความสำคัญและต้องการพัฒนาต้นทุนบริการของโรงพยาบาลให้มีความครบถ้วน และสอดรับกับสถานการณ์ ที่แท้จริง

วัตถุประสงค์ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของโรงพยาบาลเวียงป่าเป้าจังหวัด เชียงราย ปีงบประมาณ 2556 เปรียบเทียบปีงบประมาณ 2557 โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557 จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ จากหน่วยงานต่างๆ ในโรงพยาบาลทั้ง 79 หน่วยต้นทุน

วิธีการศึกษา :

1. เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังเป็นระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ 2556 และปีงบประมาณ 2557

2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประชากร ได้แก่ หน่วยบริการโรงพยาบาล เวียงป่าเป้า อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย จำนวน 79 หน่วยต้นทุน กลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยได้ทำการ ศึกษาจากประชากรทั้งหมด

3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้ข้อมูลจากรายงานงบทดลองบัญชีเกณฑ์คงค้างปีงบประมาณ 2556 ถึง 2557โดยใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บรวมรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป microsoft access (cost project และโปรแกรม data accdb) ของกลุ่มประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ช่วยในการคำนวณหาต้นทุน

ผลการศึกษา : ผลการวิจัยพบว่าต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน ปีงบประมาณ 2556 เท่ากับ 57.46 : 36.82 : 5.72 ปีงบประมาณ 2557 เท่ากับ 55.72 : 38.87 : 5.41 ต้นทุนสูงสุดได้แก่ ต้นทุน ค่าแรง ต้นทุนต่ำสุดเป็นต้นทุนค่าลงทุน ผลการวิเคราะห์ต้นทุนผู้ป่วยนอกรายสิทธิ พบว่าต้นทุนราย สิทธิทุกสิทธิเพิ่มขึ้น ยกเว้นสิทธิแรงงานต่างด้าวมีต้นทุนลดลง ต้นทุนผู้ป่วยในรายสิทธิ พบว่าต้นทุน รายสิทธิทุกสิทธิเพิ่มขึ้น ยกเว้นสิทธิประกันสังคมซึ่งมีต้นทุนลดลง ผลการวิเคราะห์ต้นทุนรวม พบว่า ผู้ป่วยนอกมีต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยในมีต้นทุนรวมลดลง โดยผู้ป่วยนอกมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 6,270,237.72 บาท ผู้ป่วยในมีต้นทุนรวมลดลง 990,611.91 บาท

สรุป : ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนเพื่อพิจารณากำหนดอัตราค่าบริการกิจกรรม การพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข การต่อรองอัตราค่าบริการกับกรมบัญชีกลาง และค่าเหมาจ่าย รายหัวของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การพิจารณาต้นทุนรายโรค การจัดสรรทรัพยากร ในโรงพยาบาล การลด และควบคุมต้นทุน รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ


The Study of Unit Cost of Service by Modified Full Cost Method. Wiengpapao Hospital, Chiangrai Province. (During the fiscal year 2013-2014)

Background : In Fiscal year 2013, 20.09 percent (167 of 831 hospitals) of Thailand has problems in financial liquidity and 31.89 percent (265 of 831 hospitals) has inefficient cost management, so the unit cost analysis of service is a necessary measure for making effective decision among providing of care. In the near future Ministry of Health will use the operation costs for monitor the hospital and supporting on policy making. The administrator of Wiengpapao Hospital has recognized the importance and want to complete, timely unit cost of service.

Objective : The purposes of this study were to determine the unit costs of Wiengpapao Hospital, Chiangrai Province during the fiscal year 2013-2014.

Methods : 1. The retrospective secondary data were collected between October 1, 2012 and September 30, 2014 (during the fiscal year 2013-2014).

2. The populations and sample were collected from 79 cost centers in Wiengpapao Hospital.

3. The study tools were by accrual accounting (Fiscal year 2013 to 2014). The data was collected and analyzed by Microsoft Access (Cost Project and Data accdb Program: create by health insurance group, ministry of public health)

Results : The results of this study showed that the proportion of labour cost; mate­rial cost and capital cost in fiscal year 2013 was 57.46 ; 36.82 and 5.72, fiscal year 2014 was 55.72 ; 38.87 and 5.41. In respectively both fiscal years the highest cost was labor cost and the lowest was capital cost. The result of outpatients (unit cost by right) showed increasing all patent’s right ex­cept foreign workers (reduced costs). The result of inpatients (unit cost by right) showed increasing all patent’s right except social security (reduced costs). The total cost showed increasing at outpatient while lower at inpa­tient. Outpatient cost increase 6,270,237.72 baht. In patients was lower 990,611.91 baht.

Conclusions : The results of this study can be used for plan to determine medical fee’s rates. For negotiate rates with the comptroller and the capitation rates of national health security office. For considering cost of disease. For alloca­tion, reduce and control hospital costs. Including to improve the efficiency of service.

Article Details

Section
Original Article