การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรงที่มี การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ

Main Article Content

มาฆะ กิตติธรกุล

Abstract

วัตถุประสงค์ : เพื่อรายงานการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ ศีรษะระดับรุนแรงที่มีการติดเชื้อ ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวน 2 ราย

รูปแบบการศึกษา : รายงานกรณีศึกษาผู้ป่วยในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

ผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วยทั้งสองรายมีความแตกต่างกันในด้านความรุนแรงของพยาธิสภาพของการบาดเจ็บ ที่ศีรษะ โดยมีปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เช่น การดื่มสุรา และการไม่สวมหมวก นิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ ผู้ป่วยรายที่สองมีความรุนแรงของพยาธิสภาพของการบาดเจ็บที่ศีรษะ มากกว่ารายแรกเนื่องจากเป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง ซึ่งจะส่งผลต่อการหายของผู้ป่วย แต่พบว่าผู้ป่วยรายแรกมีการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเร็วกว่าผู้ป่วยรายที่สอง อาจเนื่องมาจากการสำลักจากความล่าช้าในการที่จะใส่ท่อช่วยหายใจ และการปนเปื้อนขณะใส่ท่อช่วยหายใจที่ใช้เวลาในการใส่นาน พยาบาลจะต้องประเมินอาการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ต่อเนื่อง และสามารถประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้าสู่ภาวะวิกฤตหรือก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที บทบาทของพยาบาลจึงมีความสำคัญนอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะแล้วยังต้อง ปฏิบัติตามแนวทางอย่างครบถ้วนโดยมีระบบการนิเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นการลดภาวะแทรกซ้อน วันนอนโรงพยาบาล ความพิการ ตลอดจนการเสียชีวิตได้

สรุป : การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยทั้งสองรายได้รับการรักษา การพยาบาลตลอดจนการวางแผนจำหน่ายตามสภาพปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัว

 

Nursing Care of Ventilator Associated Pneumonia in Severe Head Injury Patients

Purpose : To report the comparative study of two patients with severe head injury who complicated with ventilator associated pneumonia.

Mode of Study : Case study report from December 21, 2013 to March 8, 2014

Results : The finding was found that there were different severities of pathology of head injuries between two patients. Promoting factors such as alcohol consumption and no wearing a helmet when riding a motorcycle contributed to more severity of head injury. The second patient had more severity of pathology of head injuries than had the first patient because of age, underlying diseases and hypertension which affect the patient recovery. Ventilator associated pneumonia was found the first patient earlier than the second patient because of aspiration, delays to intubation and contamination. The nurses must quickly, accurately and continuous assessed and found risk factors before critical period or complication role was extremely important because the expert nurse cognitively manipulates many variables over a continuum of care and, if such tasks were skillfully and successfully performed and effectively supervision system, the incidence of complication disability deaths and length of hospital stay were reduced.

Conclusion : The study showed that both patients received cure and nursing care and discharge plan specifically provided for each patient’s problem and family.

Article Details

Section
Case Report