ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพจิตครอบครัวสามวัย ต่อการรับรู้บทบาทของสมาชิกและสัมพันธภาพในครอบครัว

Main Article Content

พรฤดี นิธิรัตน์
ราตรี อร่ามศิลป์
คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร
ดลใจ จองพานิช
กมลวรรณ ตาตะคุ

Abstract

ที่มาของปัญหา : สมาชิกในครอบครัวมีความสำคัญในการสร้างความสุขในครอบครัว อย่างไรก็ตาม มีครอบครัวที่สมาชิกไม่ได้แสดงบทบาทอย่างเหมาะสม นำไปสู่ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัวและไม่มีความสุข

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตครอบครัวสามวัยต่อการรับรู้บทบาทของสมาชิกครอบครัว และการสร้างสัมพันธภาพดีที่ในครอบครัว

วิธีการศึกษา : การวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มตัวอย่างคือ ครอบครัวที่มีสมาชิกสามวัย ได้แก่ พ่อ แม่ ลูก และ ปู่/ย่า/ตา/ยาย จำนวน 15 ครอบครัว ในพื้นที่ตำบลปะตง และตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตครอบครัวสามวัย ที่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดทฤษฎี โครงสร้างและหน้าที่ของครอบครัวและทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมประกอบด้วยกิจกรรมหลักคือ การสร้างความรู้และความตระหนักในบทบาทของสมาชิกครอบครัวการเป็นครอบครัวต้นแบบและการร่วม กิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามการรับรู้บทบาทของสมาชิกครอบครัวและ แบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัว วัดก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม และหลังการเข้าร่วมโปรแกรม 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรนา และ Wilcoxon sign rank test

ผลการศึกษา : พบว่า ครอบครัวที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพ่อที่มีอายุระหว่าง 46 ถึง 60 ปี (ร้อยละ 60) แม่มีอายุระหว่าง 31 ถึง 40 ปี (ร้อยละ 33.3) ลูกเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 53.3) อายุระหว่าง 16 ถึง 18 ปี (ร้อยละ40) และปู่ย่าตายาย อายุตั้งแต่ 70 ปี ขึ้นไป (ร้อยละ 46.7) หลังเข้าร่วมโปรแกรม สมาชิกมีการรับรู้บทบาทของตนเองในครอบครัวสูงขึ้น และสัมพันธภาพในครอบครัวดีขึ้นอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ

สรุป : การศึกษานี้เสนอแนะว่า ควรนำโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตครอบครัวสามวัยไปขยายผลในพื้นที่อื่น เพื่อการสร้างความสุขในครอบครัว

 

The Effect of Mental Health Promoting Program for Three-Generation Families on the Perception Toward Roles of Family Members and Family Relationship

Background : Family members can significantly contribute to family’s happiness However, there are families whose family members cannot perform a proper role.

Objectives : This quasi study aimed to develop and examine the effect of mental health promoting program for three-generation families on the perception toward roles of family members and family relationship.

Method : The samples were 15 three-generation families (parents, children, and grandparents) in Pathong and SaiKhaow districts, Umpher Soi Dao, Chanthaburi. The sample families were requested to participate in a mental health promoting program for three-generation families developed based on the family structural theory and social support theory. The program consisted of three main activities—knowledge and awareness enhancement regarding roles of family members, being a role model family, and involving in family relationship promoting activities. Data were collected before and after implementing the program. A Self-administered questionnaire composed of 1) the perception of family member’s roles and 2) family relationship were used as a tool for data collection. Descrip­tive statistics and Wilcoxon sign rank test were applied for data analysis.

Results : Most of the sample families had a father aged 46-60 years old (60 percent), a mother aged 31-40 years old (33.3 percent), a female daughter (53.3 percent) aged 16-18 years old (40 percent), and a grandparent aged 70 years old and over (46.7 percent). After participating in the program, the perception toward roles of family members and overall family relationship were significantly higher than those before participating in the program.

Conclusion : This study suggested that the mental health promoting program for three-generation families should be implemented in other settings to promote family’s happiness.

Article Details

Section
Original Article