ปัจจัยทำนายสัมพันธภาพระหว่างบิดาวัยรุ่นกับบุตรวัยทารก

Main Article Content

อารี ฉอ้อนโฉม
นุจรี ไชยมงคล
ยุนี พงศ์จตุรวิทย์

Abstract

ที่มาของปัญหา : สัมพันธภาพหรือความผูกพันระหว่างผู้เลี้ยงดูกับทารกเป็นสายสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่ส่งผลให้ ทารกเจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ที่มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ปัจจุบันบิดามีส่วนเลี้ยง ดูบุตรมากขึ้น และส่วนใหญ่เป็นบิดามารดาวัยรุ่น เมื่อวัยรุ่นมารับบทบาทการเป็นบิดา อาจส่งผลต่อ สัมพันธภาพระหว่างบิดากับบุตรวัยทารกได้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสัมพันธภาพพบปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบิดา ด้านทารก และด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม สัมพันธภาพที่ดีระหว่างบิดาวัยรุ่นกับบุตรจะ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก ซึ่งสังคมไทยปัจจุบันมีครอบครัวที่บิดาอยู่ในวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยทำนายสัมพันธภาพระหว่างบิดาวัยรุ่นกับบุตรวัยทารก

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายสัมพันธภาพระหว่างบิดาวัยรุ่นกับบุตรวัยทารก

วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เป็นบิดาวัยรุ่นที่มีบุตรวัยทารก จำนวน 96 คู่และมารั บบริการในโรงพยาบาลเสนา และโรงพยาบาลส่ งเสริ มสุ ขภาพตำบล ในเขตอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามให้บิดาเป็นผู้ตอบทั้งหมด 7 ชุด

ผลการศึกษา : ผลการวิจัย พบว่าความสัมพันธ์ของคู่สมรสเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุดและมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำนาย ได้ร้อยละ 18.20 (β =.29, t = 2.91, p< .01) และรองลงมาคือการรับรู้บทบาทการเป็นบิดา ทำนายได้ เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 6.70 (β = .29; t = 2.87, p< .01) ปัจจัยทำนายทั้งสองสามารถอธิบายความแปรปรวน ของสัมพันธภาพระหว่างบิดาวัยรุ่นกับบุตรวัยทารก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ร้อยละ 24.90 (F2, 93 = 15.40, p< .001)

สรุป : ผลการศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่าพยาบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเด็กและวัยรุ่นควร พัฒนากิจกรรมหรือโปรแกรมการส่งเสริมความสัมพันธ์ของคู่สมรส และการรับรู้บทบาทการเป็นบิดา เพื่อเพิ่มสัมพันธภาพระหว่างบิดาวัยรุ่นกับบุตรวัยทารกให้มีประสิทธิภาพ  

 

Predictors of Attachment between Adolescent Fathers and their Infants 

 

Background : Attachment between parents and infant has an influence on infant’s emotional maturity and personality development later in life. At present, fathers have involved in child rearing increasingly. When adolescent fathers have to look after their infants, it can have an impact on attachment between adolescent fathers and their infants. There were 3 main factors related to the attachment : paternal, infant and social and environmental factors. Understanding about predictors of attachment between adolescent fathers and their infants would be beneficial for further intervention pertaining to promote appropriateness of adolescent fathers and their infants’ attachment.

Objectives : The purpose of this study was to examine predictors of attachment between adolescent fathers and their infants.

Method : Multi-stage random sampling was used to recruit the sample of 96 dyads of adolescent fathers and their infants receiving care services in hospitals of Sena district, Ayutthaya province.Research instruments consisted of 7 self-reported questionnaires completed by the adolescent fathers.

Results : Results revealed that marital relation was the best and significant predictor accounting for 18.20 percent (β = .29, t = 2.91, p < .01) and the second best was paternal role’s perception increasingly accounting for 6.70 percent (β = .29; t = 2.87, p < .01) in the prediction. Both predictors were signifi­cantly accounted for 24.9 percent (F2, 93 = 15.404, p < .001) in the variance prediction of the adolescent father-infant attachment.

Conclusion : The sefindings suggest that nurse or personnel pertaining to child and adolescent health care should develop activities or an intervention program to promote marital relation and paternal role’s perception, later enhance attachment between adolescent fathers and their infants effectively.

 

Article Details

Section
Original Article