The Relationships between Health Status, Perceived Control of Symptoms, Caregiver Burden, Perceived Social Support and Quality of Life among Family Caregivers of Patients with Schizophrenia in Indonesia
Main Article Content
Abstract
Background : Providing prolonged care and support for patients with schizophrenia can be burden some for family caregivers. Caregiving might affect to the continuity of treatment of patients. Thus, the family caregivers could be considered as one health resource to promote health of patients with schizophrenia. On the other hand, caregiving activities experienced by the caregivers are stressful events that could relate to quality of life of both patients and the caregivers.
Objective : To examine the relationships between health status, perceived control of symptoms, caregiver burden, perceived social support, and quality of life among family caregivers of patients with schizophrenia in Indonesia.
Methods : A descriptive correlational approach was used in this study. Data were collected during July to August 2014 from 137 family caregivers of paients with schizophrenia in Indonesia. Data were analyzed by descriptive statistics, and Pearson’s Product Moment correlation coefficients were emplyed to determine the relationships.
Results : The results revealed that health status, perceived control of symptoms, and perceived social support were significantly positively correlated with quality of life among the family caregivers, while the caregiver burden showed a significantly negative related to the quality of life. Moreover, the perceived social support was found as the strongest factor related to the family caregiver’ quality of life.
Conclusion : The results of this study suggest that the family caregivers who have lower caregiver burden, perceived the higher control of symptoms, and perceived the higher social support were more likely to have higher quality of life. Other factors which were not included in this study should be taken into consideration for further study related family caregiver’ quality of life.
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมอาการ ภาระการดูแล และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตของญาติ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทในอินโดนีเซีย
ที่มาของปัญหา : การดูแลผู้ป่วยจิตเภทนับว่าเป็นภาระหนักของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการ รักษาที่ต่อเนื่องของผู้ป่วย ดังนั้นญาติผู้ดูแลจึงควรได้รับความสนใจในฐานะที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท และในอีกมุมมองหนึ่ง ภาระการดูแลผู้ป่วยอาจส่งผลให้ญาติผู้ดูแลมีความเครียด และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสุขภาพ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมอาการ ภาระการดูแล และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท ในอินโดนีเซีย
วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยเก็บรวบรวมในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 จากญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทใน อินโดนีเซีย จำนวน 137 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน
ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่าภาวะสุขภาพ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมอาการ และการรับรู้การ สนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงลบ ส่วนภาระการดูแลมีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท โดยการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวแปรที่มีขนาดของความสัมพันธ์มากที่สุดกับคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท
สรุป : จากผลการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าญาติผู้ดูแลที่มีภาวะสุขภาพดี รับรู้ว่าควบคุมอาการของ ผู้ป่วยได้รับรู้ว่ามีการสนับสนุนทางสังคมดี และมีภาระดูแลไม่หนักมีคุณภาพชีวิตดี อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้ยังไม่ครอบคลุมตัวแปรอื่นๆ ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท