การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร ในโรงพยาบาลพระปกเกล้า : ภาวะแทรกซ้อนและการแก้ไข

Main Article Content

วิวัฒน์ กาญจนรุจวิวัฒน์
ธันวา พิทักษ์สุธีพงศ์
รัตนา เดิมสมบูรณ์

Abstract

ที่มาของปัญหา : การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรเป็นมาตรฐานการรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นช้าทั้งชนิด advance degree AV block และ sick sinus syndrome โรงพยาบาลพระปกเกล้าเริ่มใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 การดูแลผู้ป่วยหลังการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ มีความสำคัญเนื่องจากสามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่เครื่องได้

วัตถุประสงค์ : ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นช้าที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร ในโรงพยาบาลพระปกเกล้าและศึกษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร รวมถึงวิธีการแก้ไข

วิธีการศึกษา : รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเก็บรวบรวมข้อมูลแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study) ในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 ถึง วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ในโรงพยาบาลพระปกเกล้า

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยจำนวน 104 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 37.5 (39 ราย) เพศหญิง ร้อยละ 62.5 (65 ราย) อายุ เฉลี่ยที่ 71.09 ปี (20-97 ปี) ลักษณะของคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็น advance degree AV block ร้อยละ 68 และเป็นกลุ่ม sick sinus syndrome ร้อยละ 32 ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ชนิด single chamber (VVI/VVIR) ร้อยละ 79 ชนิด dual chamber (DDD/DDDR) ร้อยละ 19 มีภาวะแทรกซ้อนได้แก่ เสียชีวิต 1 ราย (ร้อยละ 1) ติดเชื้อบริเวณที่ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า 3 ราย (ร้อยละ 2.9) เลือดออก/เลือดออกใต้ผิวหนัง 4 ราย (ร้อยละ 3.8) เลือดออกในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ 2 ราย (ร้อยละ 1.9)

สรุป : การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวรเป็นมาตรฐานในการรักษาโรคหัวใจเต้นช้าในประเทศไทย ยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร และภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการแก้ไขภาวะแทรกซ้อน

 

Permanent Pacemaker : Prapokklao Hospital Experience Complication and Management

Background : Permanent pacemaker is a standard treatment in bradyarrhythmia’s patient. Prapokklao Hospital has implanted permanent pacemaker since 2002. Post implantation care can reduce complication from permanent pacemaker implantation.

Objective : To study baseline characteristic data, complication and management of infection of cardiovascular implantable electronic device among permanent pacemaker’s patient

Method : A retrospective descriptive study was conducted to determine data regarding baseline characteristic and complications of permanent pacemaker’ s patients during March 2008 - Febuary 2013 in Prapokklao Hospital Chanthaburi.

Result : Of all 104 case, 39 were male (37.5 percent) and 65 were female (62.5 percent) average age of cases was 71.09 years old (20-97 years old). ECG showed that there were patients with advance degree AV block (68 percent) and sick sinus syndrome (32 percent). All patients were implanted by other a single chamber (79 percent) a dual chamber 19 percent. A total complications were 11.6 percent including. Death (1 percent), Infection of cardiovascular implantable electronic device (2.9 percent), Bleeding/ hematoma (3.8 percent) and cardiac tamponade (1.9 percent).

Conclusion : Permanent pacemaker is a standard treatment for symptomatic bradyarrhythmia. In Thailand, there are insufficient data about permanent pacemaker’s patients characteristics and complications.

Article Details

Section
Original Article