ผลของโปรแกรมการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ต่อระดับน้ำตาลสะสม

Main Article Content

วรรณภา สิทธิปาน
สาวิตรี สลับศรี
ฉัตรชัย ไข่เกษ

Abstract

ที่มาของปัญหา : ในปี พ.ศ. 2556 ข้อมูลของโรงพยาบาลแหลมฉบังชี้ว่า ผลจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพบว่า มีผู้ป่วยที่สามารถลดระดับน้ำตาลให้น้อยกว่า 183 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ได้เพียงร้อยละ 15.82 เท่านั้น ซึ่งมีประเด็นหลักของปัญหาคือ ผู้ป่วยไม่เข้าใจภาวะโรคของตนเอง ขาดแรงจูงใจ ขาดข้อมูลที่เป็น ปัจจุบัน และขาดการดูแลตนเอง

วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ต่อระดับน้ำตาลสะสม

วิธีการศึกษา :ศึกษาแบบกึ่งทดลอง ณ โรงพยาบาลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2557 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ที่มีระดับน้ำตาลสะสม มากกว่าร้อยละ 8 ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกเบาหวาน จำนวน 54 คน ซึ่งได้รับการสุ่มเข้าเป็น กลุ่มทดลอง 18 คน กลุ่มควบคุม 36 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามปกติ อย่างเดียว กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาม ปกติร่วมกับโปรแกรมการตรวจ ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ซึ่งโปรแกรมนี้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การประเมินปัญหา การเตรียมผู้ป่วยเพื่อจัดการตนเอง การจัดการตนเองตามแนวคิดของแคนเฟอร์และเกร์ลิคส์ และการ ประเมินผล โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการตรวจเลือดหาระดับน้ำตาลสะสมทั้งสิ้น 2 ครั้ง ได้แก่ก่อนการ ทดลอง และหลังการทดลอง ในสัปดาห์ที่ 12 ของการจัดโปรแกรมกิจกรรมวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิง พรรณนา paired t-test และ independent t-test

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการตรวจติดตามระดับน้ำตาลใน เลือดด้วยตนเองมีค่าเฉลี่ยของผลต่างของระดับน้ำตาลสะสมลดลงมากกว่าผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการ พยาบาลตามปกติอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -2.31, p < .05; 95% CI = -2.59, -0.18)

สรุป :โปรแกรมการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการพยาบาล ตามปกติได้ในการลดระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

 

Effect of Self-monitoring Blood Glucose Program in Poorly Controlled Type 2 Diabetes Mellitus Patients on Glycosylate Level

Background : Based on data of Laemchabang Hospital, it is revealed that the success rate of blood sugar less than 183 milligram percent from life style modification was only 15.82 percent in 2013. The major problems may result from lack of understanding about the disease in terms of the current disease situation, as well as, lack of self-motivation, up-dated information and self-care.

Objective : The present study was conducted to test the effect of self-monitoring blood glucose program in poorly controlled type 2 diabetes mellitus patients on glycosylate level.

Method : The quasi experimental study at Laemchabang Hospital, Chonburi was conducted during March to June 2014. The subjects were 54 patients selected based on glycosylate level which was higher than 8 percent, attending the diabetic clinic and were randomly assigned into two groups- 18 participants in experimental group and 36 persons in control group. The control group received only routine nursing care, while the experimental group received routine nursing care with the self-monitoring blood glucose program, which was composed of four steps, including assessment, preparation for self-management, self-management practice based on Kanfer and Gaelick’s concept and evaluation. The subjects were tested 2 times for glycosylate level- for base line before implementing the program and at the end of the 12 week program. Data were analyzed using descrip­tive statistics paired t-test, and independent t-test.

Results : After receiving the program, the experimental group had a lower mean difference of glycosylate level than that of the control group with a statistical significance of p < .05 (t = -2.31; 95% CI = -2.59, -0.18).

Conclusion : The self-monitoring blood glucose program can enhance the efficiency of routine nursing care to reduce glycosylate level in poorly controlled type 2 diabetes mellitus patients.

Article Details

Section
Original Article