การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันแบบสอบถาม ความเชื่อเกี่ยวกับการกินยาฉบับภาษาไทย

Main Article Content

ยศพล เหลืองโสมนภา
สิริรัตน์ เหลืองโสมนภา
สาคร พร้อมเพราะ
ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์
รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
วารุณี สุวรวัฒนกุล

Abstract

ที่มาของปัญหา : Robert Horn เป็นผู้พัฒนาแบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการกินยาที่ใช้บ่อยในปัจจุบัน แบบสอบถามนี้ได้รับการแปลและใช้ในการศึกษาวิจัยในประเทศไทยแล้ว โดยยศพล เหลืองโสมนภา และคณะ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันแบบสอบถามดังกล่าว ซึ่งจะทำให้มีความตรงเชิงโครงสร้างมากขึ้น

วัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันแบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการกินยาฉบับภาษาไทย

วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Cross – sectional analytical research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3 โรค ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเอช ไอ วี และโรคเบาหวาน ที่มารับบริการจากโรงพยาบาลชุมชนบ่อไร่ จังหวัดตราด โรงพยาบาลชุมชนลองใหญ่ จังหวัดตราด โรงพยาบาลชุมชนวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว และโรงพยาบาลชุมชนองครักษ์ จังหวัดนครนายก ในระหว่าง เดือนมีนาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 จำนวนทั้งสิ้น 500 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการกินยาฉบับภาษาไทยที่ ยศพล เหลืองโสมนภา และคณะทำการ พัฒนาจากแบบสอบถามต้นฉบับของฮอร์น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ค่าข้อมูลพื้นฐาน และใช้โปรแกรม Lisrel 8.52 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการวิจัย : โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันแบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการกินยาฉบับภาษาไทยมีความ สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์ (χ2) มีค่าเท่ากับ 69.64 ที่ องศาอิสระ (df) เท่ากับ 83 มีความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.852 ค่าไค-สแควร์หารด้วยค่าองศาอิสระ (χ2/df) เท่ากับ 0.84 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับ แก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.97 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1 ค่าดัชนีของ ทัคเกอร์เลวิช (TLI or NNFI) เท่ากับ 1 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.03 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.00

สรุป : แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการกินยาฉบับภาษาไทยที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบสอบถามที่องค์ประกอบสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถนำไปใช้ประเมินความเชื่อเกี่ยวกับการ กินยาในการศึกษาของประเทศไทยได้ต่อไป  


Confirmatory Factor Analysis of Beliefs about Medicine Questionnaire in Thai Version.

Background : Beliefs about medicine questionnaire which most commonly used was developed by Robert Horn. This instrument was translated and applied in Thai study by Yosapon Leaungsomnapa and colleagues. However, confirmatory factor analysis of the Thai version has not been computed for construct validty.

Objective : To analyze confirmatory factor of beliefs about medicine questionnaire in Thai version.

Methods : A cross – sectional analytic research design was used in this study. The participants were 500 chronic illness patients consisting of hypertensive, HIV and diabetes patients who have been treated at Borai Hospital, Klongyai Hospital, Wangnumyen Hospital and Ongkaluk Hospital, Thailand. Data were collected between March and September 2013. The research instrument was a beliefs about medicine questionnaire in Thai version with the reliability of 0.80 which was developed by Yosapon Leaungsomnapa and colleagues from Horn’s original version. Statitical package program and LISREL 8.52 were used to analyze descriptive and confirmatory factor analysis respectively.

Results : The confirmatory factor model of beliefs about medicine questionnaire was in accordance with the empirical data. Chi – square goodness of fit test value was 69.64 with 83 degree of freedom, p = 0.852 , χ2/df = 0.84, GFI = 0.98, AGFI = 0.97, CFI = 1 , TLI or NNFI = 1, SRMR = 0.03 and RMSEA = 0.00.

Conclusions : The confirmatory factor model of beliefs about medicine questionnaire in Thai verion was in accordance with the empirical data . This instrument can use to measure beliefs about medicine in Thai study.

Article Details

Section
Original Article