คุณภาพการบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยและ ผู้ให้บริการ หอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลตราด
Main Article Content
Abstract
ที่มาของปัญหา : คุณภาพการบริการพยาบาลเป็นเป้าหมายสำคัญของบริการทางสุขภาพ ที่จะนำไปสู่ความพึง พอใจของผู้รับบริการ อย่างไรก็ตามมีหลักฐานสนับสนุนว่าความยั่งยืนของคุณภาพการบริการพยาบาล จะมีได้ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ให้บริการด้วย ดังนั้น การศึกษาถึงการรับรู้ของผู้ป่วยและผู้ให้ บริการต่อคุณภาพการบริการพยาบาล จึงมีความจำเป็น
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อคุณภาพการบริการพยาบาล ของหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลตราด ต่อการบริการพยาบาล 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อคุณภาพการบริการพยาบาล ของหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลตราด
วิธีการศึกษา :การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพรรณนา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยจำนวน 171 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง และผู้ให้บริการพยาบาลทุกคน จำนวน 74 คน จากหอผู้ป่วย พิเศษ โรงพยาบาลตราด จำนวน 5 หอ เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามมี 2 ชุด สำหรับผู้ป่วยและ ผู้ให้บริการ แต่ละชุดมี 3 ส่วน ได้แก่ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2. ความพึงพอใจต่อ คุณภาพการบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ตอบแบบสอบถาม และ 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอ แนะต่อคุณภาพการบริการพยาบาล ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามสำหรับผู้ป่วยและผู้ให้บริการเท่ากับ 0.93 และ 1.00 ตาม ลำดับ วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.98 และ 0.94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลคำถามปลายเปิดด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา : พบว่า 1. ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อคุณภาพการบริการพยาบาลอยู่ในระดับมาก (X = 4.34, SD = 0.57) 2. ความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อคุณภาพการบริการพยาบาลอยู่ในระดับมาก (X = 4.04, SD = 0.42)
สรุป : เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ควรนำผลการวิจัยมาพัฒนาการ ให้บริการควบคู่กับการพัฒนาผู้ให้บริการนำไปสู่การปฏิบัติ และควรได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร
Quality of Nursing Services Perceived by Patients and Nursing Care Personnel at Private Wards in Trat Hospital
Background : Quality of nursing services is an important goal of health care services that lead to clients’ satisfaction. However, there are some evidences supporting that the sustainability of quality of nursing services also depends on the satisfaction of nursing care personnel. Therefore, perception of patients and nursing care personnel about quality of nursing services needs to be investigated.
Objectives : 1. to study the satisfaction level of patients on quality of nursing services at private Wards in Trat Hospital and, 2. to examine the satisfaction level of nurses about their job as quality of nursing services.
Methods : This was a descriptive research study. The sample comprised 171 patients and 74 nursing care personnels. The patients were selected by purposive sampling. All nursing care personnel were from five private wards in Trat Hospital. Two forms of questionnaires were used as research tools and each one consisted of three parts: 1. demographic data, 2. satisfaction on quality of nursing services, and 3. further suggestions on quality of nursing services. The content validity index of the questionnaires was verified by three experts, and the content validity index of the questionnaires of patients and nursing care personnel were 0.93. and 1.00, respectively. The Cronbach’s alpha coefficients of the second and the third parts were 0.98 and 0.94, respectively. Quantitative data were analyzed by frequency, percentage, mean, and standard deviation, while open-ended data were analyzed by content analysis.
Results : The research findings were as follows. 1. The patients rated their satisfaction on quality of nursing services at a high level (X = 4.34, SD = 0.57). 2. Nursing care personnel rated their satisfaction on the quality of nursing services at a high level (X = 4.04, SD = 0.42).
Conclusion : In order to develop the quality of nursing services continuously, the results of quality of nursing services should be implemented and developed by nursing care personnel and supported by the hospital administrators.