การศึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ที่รักษาในโรงพยาบาลพระปกเกล้า

Main Article Content

อรรณพ กิตติวราวุฒิ
พยอม บรรเทาวงษ์

Abstract

ที่มาของปัญหา : มะเร็งปอดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกรวมถึงในประเทศไทย จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งของกระทรวงสาธารณสุขไทยพบว่าภายในจังหวัดจันทบุรี พบมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบในเพศชาย เป็นลำดับที่หนึ่งและพบมากเป็นลำดับที่สามในเพศหญิง ในปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งปอดมีการพัฒนา ด้านยาเคมีบำบัดและยาอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมีสวัสดิการการรักษาที่เพิ่มโอกาสให้เข้าถึงยาได้มากขึ้น จึงน่าจะส่งผลให้การรักษามีประสิทธิภาพที่ดีมากกว่าในอดีตและน่าจะทัดเทียมกับมาตรฐานได้

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่ทำการรักษาในโรงพยาบาลพระปกเกล้าทั้งหมด ทั้งชนิดเซลล์ตัวเล็กและไม่ใช่เซลล์ตัวเล็ก และเปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิตและระยะเวลาการมีชีวิต เฉลี่ยกับผลการรักษาตามมาตรฐาน

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบศึกษาข้อมูลย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่มา ตรวจรักษาในโรงพยาบาลพระปกเกล้า ในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 โดยรวมผู้ป่วยในทุกสิทธิการรักษา

ผลการศึกษา :  ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยมะเร็งปอดทั้งหมด 627 ราย เพศชายร้อยละ 71.5 เพศหญิงร้อยละ 28.5เป็นชนิดเซลล์ตัวเล็ก (small cell lung cancer; SCLC) ร้อยละ 6.9 และชนิดไม่ใช่เซลล์ตัวเล็ก (non small cell lung cancer; NSCLC) ร้อยละ 93.1โดยชนิดเซลล์ Adenocarcinoma พบมากที่สุดคิด เป็นร้อยละ 93.1 ระยะของโรคที่พบมากที่สุดเป็นระยะที่มีการแพร่กระจายแล้วคือ SCLC extensive stage ร้อยละ 69.8 และ NSCLC stageIV ร้อยละ 82.0 ผลของการรักษาเป็นดังนี้ ระยะเวลาการมีชีวิต เฉลี่ย (Median overall survival, mOS) ของผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิด NSCLC ระยะแพร่กระจาย (IIIB และ IV) เท่ากับ 8.67 ± 0.81 เดือน อัตราการรอดชีวิตที่ 1 ปี เท่ากับร้อยละ 31.5 อัตราการรอดชีวิตที่ 2 ปี เท่ากับร้อยละ 6.6 ผลการรักษาของผู้ป่วย SCLC extensive stage mOS เท่ากับ 6.67 ± 1.25 เดือน อัตราการรอดชีวิตที่ 1 ปี เท่ากับร้อยละ 18.2 อัตราการรอดชีวิตที่ 2 ปีเท่ากับร้อยละ 9.1

สรุป : ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพการรักษาโรคมะเร็งปอดของโรงพยาบาลพระปกเกล้ามีความทัดเทียมกับการรักษาตามมาตรฐานของต่างประเทศในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด  

 

Lung cancer in Prapokklao Hospital

Background : Lung cancer is a major health problem in the world, Thailand and Chanthaburi province, the first most common cancer in men and the third most common cancer in female. With improved medical treatment of the lung cancer such as chemotherapy and other medication, accessible and affordable cancer care, patients are living longer. Correspondingly, the effectiveness of lung cancer treatment in Prapokklao Hospital should be evaluated.

Objective : To study patient characteristics of small cell lung cancer (SCLC) and non small cell lung cancer (NSCLC) that were treated in Prapokklao Hospital and compare median overall survival (mOS), 1 year survival rate and 2 year survival rate between both groups (Prapoklao hospital vs the standard care)

Method : Data were retrospectively collected on all patients with lung cancer who had been treated in a medical oncology clinic of Prapokklao Hospital regardless of payment choice during 1 January 2007 through 30 September 2012.

Result : Of 627 lung cancer patients, 449 (71.5 percent) were male, 583 (93.1 percent) were NSCLC. Adenocarcinoma was the most common pathology type (93.1 percent). Mostly presentations were an advanced stage of lung cancer (SCLC extensive stage, 69.8 percent; NSCLC stage 4, 82.0 percent). Regarding advanced NSCLC, there were mOS (8.67 ± 0.81 month), 1 year survival rate (31.5 percent) and 2 year survival rate (6.6 percent). Unlike that of advanced NSCLC, mOS of extensive staged SCLC was 6.67 ± 1.25 month, 1 year survival rate was 18.2 percent, 2 year sur­vival rate was 9.1 percent.

Conclusion : The effectiveness of lung cancer treatment in PrapokklaoHospital was similar to the standard care.

Article Details

Section
Original Article