ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุ ที่นำส่งด้วยหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง ในประเทศไทย

Main Article Content

เมษญา ชาติกุล

Abstract

ที่มาของปัญหา : เมื่อมีการแจ้งเหตุไปยังหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน (โทร 1669) ผู้ประสบอุบัติเหตุนอกโรงพยาบาลจะได้รับการดูแลเบื้องต้นและนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อ รถพยาบาลเกิดความสูญเสียชีวิตและทุพลภาพต่อผู้ปฏิบัติงาน เนื่องจากตัวชี้วัดคุณภาพของระบบ ปฏิบัติการ คือเวลาจากรับแจ้งเหตุจนไปถึงที่เกิดเหตุภายใน 10 นาที และเวลาจากรับแจ้งเหตุจนนำส่งโรงพยาบาลภายใน 60 นาที ทำให้ผู้ทำวิจัยต้องการศึกษาว่าปัจจัยเรื่องเวลามีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ประสบเหตุจริงหรือไม่และหาปัจจัยอื่นอีกที่สามารถพัฒนาได้เพื่อช่วยลดการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุ

วัตถุประสงค์ : เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ประสบอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยหน่วยปฏิบัติการการ แพทย์ฉุกเฉินขั้นสูงในประเทศไทย

วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบ Retrospective case control study โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลการ ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูงจากฐานข้อมูลที่ถูกจดบันทึกทั่วประเทศของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาติ ทั้งนี้มีการประมวลข้อมูลทางสถิติเปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ ระหว่างกลุ่มที่เสียชีวิตกับไม่เสียชีวิตโดยใช้ทั้ง Univariate และ Multivariate logistic regression นอกจากนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์ใน กลุ่มเสียชีวิตเพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลอีกด้วย

ผลการศึกษา : เมื่อติดตามผลการรักษาจากจุดเกิดเหตุจนถึง 24 ชั่วโมงหลังจากนำส่งโรงพยาบาลพบว่า ปัจจัย ที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตคือ อายุที่มากขึ้น ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่มากขึ้น (วัดโดย RTS และDispatch level) และการนำผู้ที่อาการรุนแรงส่งโรงพยาบาลที่มีศักยภาพไม่เหมาะสม สำหรับใน กลุ่มผู้เสียชีวิตพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลคือ เวลาจากรับแจ้งเหตุจนไป ถึงที่เกิดเหตุมากกว่า 10 นาที เวลาจากรับแจ้งเหตุจนนำส่งโรงพยาบาลมากกว่า 60 นาที เพศชาย ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่มากขึ้น(จัดระดับโดย RTS) และการดูแลทางเดินหายใจเบื้องต้นที่ไม่เหมาะสม

 

Factors Related to Death in Trauma Patients of Advanced EMS in Thailand

Background : After calling 1669, emergency medical service system has hurriedly trans­ported because quality indicators of the advanced emergency medical service system are required the response time 10 minutes and total pre-hospital time 60 minutes which may cause high risk of the ambulance to face with the accident.

Objective : To examine factors related to death in trauma patients of advance EMS. To identify factors that could be modified for death reduction.

Method : The study was a retrospective case control study. The Emergency Medical Institute of Thailand provided registered national-based data of Advanced Emergency Medical service (EMS) for analysis. Univariate and multivariate logistic regression analysis was conducted to determine factors associ­ated with patient’s mortality. Finally, we analysed factors in a death group that was related to death before arriving hospital. Result : From scene time to 24 hours after arriving hospital, we found that factors related to death in trauma patients were age augment, severity of trauma (determined by RTS and dispatch code) and improper hospital selection to refer patients. In a death group, we found that factors related to death before arriving hospital were response time > 10 minutes, total pre-hospital time > 60 minutes, a male gender, the severity of trauma (determined by RTS) and improper primary airway management.

Conclusion : The emergency medical system should evaluate severity of pre-hospital trauma patients and send to appropriate hospitals for mortality reduction. For the reduction of death rate before arriving hospital, the system should be improved to achieve a target response time in 10 minutes, total pre-hospital time in 60 minutes and proper primary airway management.

Article Details

Section
Original Article