การศึกษาเปรียบเทียบผลการผ่าตัดต่อมไทรอยด์โดยการใส่สายระบายเลือดและไม่ใส่สายระบายเลือดในโรงพยาบาลพุทธโสธร
Main Article Content
Abstract
ที่มาของปัญหา :ก้อนที่ต่อมไทรอยด์เป็นภาวะที่พบได้บ่อยซึ่งสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด thyroid lobectomy โดยทั่วไปการผ่าตัดดังกล่าว แพทย์มักจะใส่สายระบายเลือด (suction drain) เพื่อป้องกัน hematoma หรือ seroma หลังผ่าตัด อย่างไรก็ดี การผ่าตัดโดยไม่ใส่ drain ก็มีการปฏิบัติอยู่เช่นกัน
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด thyroid lobectomy โดยใส่สายระบายเลือดและไม่ใส่สายระบายเลือด
วัสดุและวิธีการ : การศึกษาเป็นแบบ prospective clinical study โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 55 รายที่เข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัด thyroid lobectomy ที่แผนก หู คอ จมูก โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2557 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2558 โดยผู้ป่วยถูกสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ใส่และกลุ่มที่ไม่ใส่สายระบายเลือด
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านอายุ เพศ การวินิจฉัยโรค ขนาดของก้อนที่ต่อมไทรอยด์ ระยะเวลาการผ่าตัด ปริมาณเลือดที่เสียระหว่างผ่าตัด และผลแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัด ทั้งสองกลุ่มมีค่า DRG RW และค่า AdjRW เท่ากัน อย่างไรก็ดี กลุ่มที่ไม่ใส่สายระบายเลือดมีระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล น้อยกว่ากลุ่มที่ใส่สายระบายเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยจากการทดสอบที (t-test) (p – value) ของระยะเวลาดังกล่าวระหว่างทั้งสองกลุ่มมีค่าน้อยกว่า 0.001)
สรุป : การผ่าตัด thyroid lobectomy โดยไม่ใส่สายระบายเลือดมีความปลอดภัยไม่ต่างจากการใส่ และยังช่วยลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลได้
คำสำคัญ : การผ่าตัดต่อมไทรอยด์; สายระบายเลือด; ผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
Comparative Study of Thyroid Lobectomy with and without drain in Buddhasothorn Hospital
Background : Thyroid mass is a common problem in the ENT clinic and thyroid lobectomy is a treatment of choice. Even though the thyroid lobectomy with a suction drain is a common practice in order to avoid hematoma or seroma, such treatment without a suction drain has also been practiced.
Objective : This prospective clinical study compared the outcomes and complications of thyroid lobectomy with and without a suction drain patients with thyroid disorder.
Material and Methods : This study enrolled 55 who underwent thyroid lobectomy by a surgeon between October 2014 to October 2015. They were randomly allocated into two groups regarding the operation: with drain and without drain groups.
Results : Patients in both groups had no significant differences in age, sex, diagnosis, side of thyroid mass, their operating time, estimated blood loss, complications and histopathological diagnosis. The length of hospital stay, however, was significantly reduced in the group without the drain, calculated from the t-test method (p < 0.001).
Conclusions : Thyroid lobectomy without the drain was a safe procedure and could shorten the hospital stay in a patient who underwent a simple thyroid lobectomy.
Keywords: Thyroid lobectomy; Drain; Complication