ความไวและความจำเพาะในการทดสอบ Sputum AFBsmear ของห้องปฏิบัติการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

Main Article Content

วิจิตร์ โทนศิริ

Abstract

ที่มาของปัญหา: วัณโรคปอดเป็นปัญหาสาธารณสุขมานาน ผู้ป่วยสามารถถ่ายทอดเชื้อวัณโรคไปสู่ผู้อื่นได้อย่างไม่จำกัด อาการของการติดเชื้อวัณโรคจะมีอาการไอเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์การทำเสมหะAFB(sputum AFB) ซึ่งเป็นการทดสอบอย่างง่ายและมีประสิทธิภาพ สามารถทำได้ทุกห้องปฏิบัติการ จึงมีความสำคัญเป็นมากและยิ่งถ้ามีความไวและความจำเพาะของการทดสอบที่สูง จะทำให้การตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและติดตามการผลการรักษาได้ผลดียิ่งขั้นแต่ถ้าการทดสอบนี้ไม่แม่นยำ จะทำให้โอกาสการตรวจพบเชื้อวัณโรคได้น้อยลงหรือไม่พบเลย มีผลให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความไว(sensitivity)และความจำเพาะ(specificity) ของการทดสอบsputum AFB smear

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยเก็บรวมรวมข้อมูลย้อนหลัง(retrospective) ทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยที่มีการส่งทดสอบเสมหะ AFB (sputum AFB smear) และการเพาะเชื้อวัณโรคจากเสมหะ(sputum culture for TB) ร่วมกันตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ.2557 ถึงวันที่ 31 เดือนธันวาคม พ.ศ.2557 จากแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรีโดยไม่จำกัดเพศ อายุจำนวน 140 ตัวอย่าง

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.7 เป็นเพศชายและร้อยละ 29.3 เป็นเพศหญิง  มี sputum AFB smear ที่ให้ผลลบ (negative)    จำนวน 90 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 64.3 มี sputum AFB smear ที่ให้ผลบวก (positive) จำนวน 50 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 35.7มีผล sputum culture for TB ที่ให้ผล no growth มีจำนวน 75 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 53.6 มีผล sputum culture for TB ที่ให้ผล M.tuberculosisจำนวน 59 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ42.1 มีผล sputum culture for TB ที่ให้ผล contaminated จำนวน 6 อย่างคิดเป็นร้อยละ 4.3ผลsputum AFB smear ให้ผลลบและ sputum culture for TB ให้ผล no growth จำนวน 71 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 50.7  มี sputum AFB smear ให้ผลลบและ sputum culture for TB ให้ผล M.tuberculosis จำนวน 16 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 11.4  มี sputum AFB smear ให้ผลลบและ sputum culture for TB ให้ผล contaminated จำนวน 3 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 2.1sputum AFB smear ให้ผลบวกและ sputum culture for TB ให้ผล no growth จำนวน 4 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 2.9 มี sputum AFB smear ให้ผลบวกและ sputum culture for TB ให้ผล M.tuberculosisจำนวน 43 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 30.7  มี sputum AFB smear ให้ผลบวกและ sputum culture for TB ให้ผล contaminated จำนวน 3 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 2.1

สรุป:ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อวัณโรคปอดเป็นเพศชาย(ร้อยละ 70.7) มากว่าเพศหญิง (ร้อยละ 29.3) มีความไว(sensitivity) ของการทดสอบsputum AFB smearเท่ากับร้อยละ 69.35 (95%CI, 61.0 ถึง 76.86)และความจำเพาะของการทดสอบsputum AFB smearเท่ากับร้อยละ 91.03(95%CI, 85.02 ถึง 95.20)ตามลำดับ

คำสำคัญการตรวจเสมหะ AFB; การเพาะเชื้อวัณโรค; ความไวของการทดสอบ; ความจำเพาะของการทดสอบวัณโรค

 

Sensitivity and Specificity of Sputum AFB Smear Test of Out-Patient Laboratory, Prapokklaohospital,Chantaburi

Background : Up until now, tuberculosis (TB) has been a major health problem. TB is spread through the air from one person to another. Symptom of TB is chronic cough that lasts for more than three weeks so sputum Acid Fast Bacilli (AFB) smear, which is simple and effective and can be performed in every laboratory, has become essential. The more sensitivity and specificity of the smear is maintained, the better results for screening, diagnosing and monitoring treatment outcome can be achievable. In case the smear is inaccurate, the chance to detect TB is reduced and becomes ineffective. As a result, patients are not diagnosed and treated properly.

Objective : To study the sensitivity and specificity of sputum AFB smear.

Method : A retrospective study by reviewing laboratorial data of patients who submitted sputum samples for AFB smear and mycobac­terial culture. One hundred forty samples from out-patient wards were reviewed during January 1, 2014 and December 31, 2014

Results : During the study, 140 samples were enrolled. Of those, 99 samples (70.7%) were males. Totally, 90 samples (64.3%) were smear-negative and 50 samples (35.7%) were smear-positive. Of the negative smears, 71 (50.7%) had no growth, 16 (11.4%) had Mycobacterium tuberculosis culture, 3 (2.1%) had culture-contaminated. Of the positive smears, 4 (2.9%) had no growth culture, 43 (30.7%) had Mycobacterium tuberculosis culture, 3 (2.1%) had culture-contaminated.

Conclusion : Most TB patients were males. The sensitivity of sputum AFB smear was 69.35% (95% CI, 61.0 to 76.86) and the specificity was 91.03% (95% CI, 85.02 to 95.20).

Keywords : sputum AFB smear; culture for TB; sensitivity; specificity; tuberculosis



Article Details

Section
Original Article