ผลการใช้รูปแบบการรับส่งเวรข้างเตียงต่อการรับรู้คุณค่า และจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล

Main Article Content

พนมพร กีรติตานนท์

Abstract

ที่มาของปัญหา : การรายงานการรับส่งเวรทางการพยาบาลในปัจจุบัน พบปัญหาการส่งต่อข้อมูลไม่ชัดเจน และไม่ครอบคลุมปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยอย่างแท้จริง ซึ่งขัดต่อหลักการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพและบั่นทอนต่อการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาล

 

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเวรข้างเตียง ต่อระดับการรับรู้คุณค่าวิชาชีพพยาบาลและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล

 

วัสดุและวิธีการ : การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบ กึ่งทดลอง ใช้รูปแบบการศึกษาก่อนทดลองและวัด ซ้ำหลังการทดลอง (repeated measures) ชนิด 1 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี จำนวน 20 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณลักษณะ กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลองในสัปดาห์ที่ 1 และหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 6 และ 12 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการส่งเวรข้างเตียง โดยผู้วิจัยสร้างขึ้นจากความร่วมมือในการพัฒนางานของหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสระบุรี และแบบสอบถามการรับรู้คุณค่าและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล ที่สร้างขึ้นโดยใช้กรอบแนวคิดของ เครื่องมือวัดคุณค่าในวิชาชีพ (the nursing professional values scale = NPVS) ของวิสและแชงค์ 1 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ repeated measures ANOVA

 

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 77.1 มีประสบการณ์ในการทำงานพยาบาล มากกว่า 10 ปี และร้อยละ 67.4 เป็นพยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการ อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง เท่ากับ 32 (SD 5.2) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการรับรู้คุณค่าในวิชาชีพและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 3 ครั้ง คือ ในสัปดาห์ที่ 1, 6 และสัปดาห์ที่ 12 ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีระดับการรับรู้ในคุณค่าวิชาชีพและปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ของการวัดทั้ง 3 ครั้ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ ผลการวิเคราะห์พบว่า ค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ หลังการใช้รูปแบบการส่งเวรข้างเตียงในสัปดาห์ที่ 6 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 12 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

 

สรุป : รูปแบบการรายงานการส่งเวรข้างเตียง ทำให้พยาบาลรับรู้คุณค่าของวิชาชีพและสามารถปฏิบัติตามขอบเขตจรรยาบรรณวิชาชีพได้ชัดเจนมากขึ้น และทำให้การส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาลมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการใส่ใจดูแลตามปัญหาและความต้องการอย่างแท้จริง

 

คำสำคัญ: รูปแบบการรับส่งเวรข้างเตียง รับรู้คุณค่าวิชาชีพ การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล

The Effect of Bedside Shift Reports on Nursing Value
and Ethics Perceived by Nurses

Background : The nursing shift report is a communication which occurs between nurse shifts. It helps nurses to maintain the continu­ity and quality of care. In the present, the transfer of essential information is not clear. It does not cover the problems and needs of each patient. Therefore, it might not comply with nursing value and ethics.

 

Objective : To study the effect of the bedside shift reports on nursing value and ethics perceived by nurses.

 

Material and Methods : This study was a quasi-experimental study with repeated measures. Twenty nurses in medical units of the Saraburi Hospital were purposively selected to participate in the study. Data were collected at baseline and repeatedly at 6th week and 12th week. The data were analyzed by using frequency, percentage, average, standard deviation and repeated measures ANOVA.

 

Results : 77.1 percent of the sample experi­enced nurses worked more than 10 years and 67.4 percent of registered nurses were the experts. Mean age of the sample was 32 years (SD 5.2). The analysis of variance with repeated measures was used to compare the difference between the perceived value of professional ethics and practice three times in 1st, 6th and 12th weeks. The results showed that nurses had significant in the recognition of the value of professional ethics and compliance (p < 0.001). In addition, the results showed that the professional ethics from 1st week to 12th week was statistically significant (p < 0.001).

 

Conclusion: The bedside shift reports enable nurses to clearly perceive value of profes­sional ethics and compliance boundaries. Data information from the bedside shift reports result in taking care of patients following on the needs and real problems.

 

Keywords: The bedside shift report, Nurse’s value, Nurse’s ethics


Article Details

Section
Original Article