ลักษณะการดำเนินโรคและความแตกต่างของ การใช้ทรัพยากรทางสาธารณสุขก่อนเสียชีวิต ของผู้ป่วยในกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

จักรินทร์ วัฒนะมงคล

Abstract

ที่มาของปัญหา : สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยอายุรกรรมมักมีความหลากหลายและยากต่อการวิเคราะห์รูปแบบ การดูแลรักษาและการใช้ทรัพยากรทางสาธารณสุข เราอาจแบ่งกลุ่มผู้เสียชีวิตตามลักษณะการดำเนิน โรคก่อนเสียชีวิต (dying trajectories) ออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ end-stage malignancy (G1), advanced chronic disease (G2), critical illness (G3), bedridden (G4) and Human Immunodefiency Virus infection (G5) โดยรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล ปริมาณการใช้ทรัพยากรทางสาธารณสุข ของผู้ป่วยแต่ละกลุ่มน่าจะมีความแตกต่างกันแต่ยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยมาก่อน

วัตถุประสงค์ : การศึกษานี้ต้องการการวิเคราะห์สัดส่วนของผู้ป่วยอายุรกรรมที่เสียชีวิตตามลักษณะการดำเนิน โรค และสัดส่วนของการใช้ทรัพยากรทางสาธารณสุขในผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ

วิธีการศึกษา :แฟ้มประวัติผู้ป่วยเสียชีวิตในกลุ่มงานอายุรกรรมโรงพยาบาลพระปกเกล้า ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ถึง 30 กันยายน 2555 ได้รับการทบทวนในเรื่องสาเหตุการเสียชีวิต ลักษณะการเสียชีวิต แล้ว แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น มีการศึกษาการใช้ทรัพยากรทางสาธารณสุขเรื่องของการใส่ท่อช่วย หายใจในระหว่างการนอนโรงพยาบาล (E) การช่วยหายใจแรงดันบวก (V) การช่วยฟื้นคืนชีพด้วยการ กดนวดหัวใจ (C) การบรรเทาอาการทุกข์ทรมานด้วยยากลุ่มโอปิออยด์ (MO) รวมถึงค่าใช้จ่ายระหว่าง การรักษาตัวในโรงพยาบาลและจำนวนวันนอนโรงพยาบาล

ผลการศึกษา : แฟ้มประวัติผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 5,313 แฟ้ม ได้รับการทบทวนและเก็บข้อมูล สัดส่วนของ ผู้ป่วยแต่ละกลุ่มการดำเนินโรค ได้แก่ G1, G2, G3, G4 และ G5 เป็นร้อยละ 16.7, 39.0, 27.2, 9.4 และ 7.7 ตามลำดับ ผู้ป่วยทั้งหมดมีอายุเฉลี่ย 62.8 ± 17.83 ปี โดยผู้ป่วย G4 มีอายุเฉลี่ยสูงสุด (75.6 ± 13.84 ปี) และ G5 มีอายุเฉลี่ยต่ำที่สุด (40.2 ± 10.43 ปี) ค่ามัธยฐานจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของ ผู้ป่วยทั้งหมดเป็น 5 วัน (IQR 9 วัน) โดย G3 มีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลน้อยที่สุดคือ 3 วัน (IQR 7 วัน) ค่ามัธยฐานของค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็น 27,000 บาท (IQR 47,214 บาท) โดย G1 เป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด 17,698 บาท (IQR 32,849 บาท) สัดส่วนของ E, V, C และ MO ของผู้ป่วยทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 46.3, 71.3, 8.0, และ 37.2 ตามลำดับ พบว่ามีความแตก ต่างของการใช้ทรัพยากรทางสาธารณสุขที่ทำการศึกษาระหว่างกลุ่มการดำเนินโรคต่างๆ อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ โดย G1 เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการใช้ทรัพยากรด้านการช่วยชีวิตน้อยที่สุดทุกด้านและมี สัดส่วนการใช้ยากลุ่มโอปิออยด์เพื่อบรรเทาอาการทุกข์ทรมานมากที่สุด G3 เป็นกลุ่มการดำเนินโรคที่ มีสัดส่วนการใช้ทรัพยากรด้านการช่วยชีวิตมากที่สุดและมีสัดส่วนการใช้ยากลุ่มโอปิออยด์เพื่อบรรเทา อาการทุกข์ทรมานน้อยที่สุด

สรุป : การแบ่งกลุ่มผู้ป่วยอายุรกรรมที่เสียชีวิตออกเป็น 5 กลุ่มตามลักษณะการดำเนินโรคก่อนเสียชีวิต ทำให้เห็นความแตกต่างในเรื่องรูปแบบการรักษาผู้ป่วยและการใช้ทรัพยากรทางสาธารณสุขอย่างชัดเจน

 

Dying Trajectories and the difference in hospital resource use of patients in the department of internal medicine, Prapokklao Hospital

Background : Causes of death in medical patients always vary, so it is difficult to analyse the nature of care and hospital resource use in different group of patients. We could divided the deads according to their dying trajectories into 5 groups as followings: end-stage malignancy (G1), advanced chronic disease (G2), critical illness (G3), bedridden (G4) and Human Immunodeficiency Virus infection (G5). In-hospital management in each group should not be the same and there may be some differences in the aspects of hospital resource use that could reflect the appropriate management in each group.

Objective : This study aims to analyse the distribution and amount of hospital resource use among each dying trajectory of the medical deaths in the final admission.

Methods : Charts of dead patients in department of internal medicine, Prapokklao Hospital during 1 Oct 2007 - 30 September 2012 were reviewed. The data collections were baseline characteristic, causes of death and mode of death then the patients were classified into 5 groups according to their dying trajectories. The hospital resource use in terms of in-hospital endotracheal intubation (E), invasive positive pressure ventilation (V), cardiopulmonary resuscitation (C), and morphine administration (MO) were reviewed. The hospital cost and length of hospital stay (LOS) were analysed as well.

Results : 5,313 charts of dead patients had been reviewed. The proportions of G1, G2, G3, G4 and G5 were 16.7 percent, 39.1 percent, 27.2 percent, 9.4 percent and 7.7 percent, respectively. Average age (SD) at the time of death was 62.8 (17.83) years. Average age of the G4 was the highest (75.6 + 13.84 years) and the G5 was the lowest (40.2 + 10.43 years). Median LOS of all groups was 5 days (IQR 9 days) and LOS of G3 was lowest as 3 days (IQR 7 days). The median total hospital cost was 27,000 THB (IQR 47,214 THB) and G1 had lowest median cost as 17,698 THB (IQR 32,849 THB). The total rates of E, V, C and MO were 46.3 percent, 71.3 percent, 8.0 percent, and 37.2 percent respectively. Every aspect of studied hospital resources were statistically significant across all groups. G1 had lowest rate hospital resource use in most aspects and highest rate of MO. G3 had highest rate of hospital resource usage in most aspects and lowest rate of MO.

Conclusion : When classified dead medical patients into 5 groups according to their dying trajectories, we could see the difference in many aspects of hospital resource use that reflect the nature of care in each group of patients.

Article Details

Section
Original Article