ปัจจัยทำนายความเครียดในการเป็นมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรคนแรกวัยทารก

Main Article Content

รสสุคนธ์ เจริญสัตย์สิริ
นุจรี ไชยมงคล
ยุนี พงศ์จตุรวิทย์

Abstract

ที่มาของปัญหา : มารดาวัยรุ่นที่ต้องเลี้ยงดูบุตรวัยทารก เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ท้าทาย และส่งผลให้เกิด ความเครียดในการเป็นมารดา มีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้องหรือมีอิทธิพลต่อความเครียดในมารดา กลุ่มนี้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยทำนายความเครียดสามารถนำไปใช้เพื่อจัดกิจกรรมลดความเครียด ในการเป็นมารดาวัยรุ่นต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย :เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความเครียดในการเป็นมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรคนแรกวัยทารก

วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เป็นมารดาวัยรุ่นและบุตรคนแรกวัยทารก จำนวน 91 คู่ ที่มารับบริการในคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี เครื่องมือวิจัยเป็น แบบสอบถามให้มารดาเป็นผู้ตอบทั้งหมด 6 ชุด

ผลการศึกษา : ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของมารดา การสนับสนุนทางสังคม และพื้นฐานทางอารมณ์ของทารก สามารถร่วมกันทำนายความเครียดในการเป็นมารดาได้ร้อยละ 34.1 (F 3,87 = 14.937, p <.001) การสนับสนุนทางสังคมเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุดและมีนัยสำคัญทางสถิติทำนายได้ร้อยละ 24.8 ( β = -.34, t = -3.36, p < .01) รองลงมาคือพื้นฐานทางอารมณ์ของทารก ทำนายได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 5.5 ( β = -.22, t = -2.37, p < .05) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนทำนายได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 3.7 ( β = -.22, t = -2.21, p < .05)

สรุป : ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลและผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพมารดาวัยรุ่น และบุตรทารกควรให้ความสำคัญและส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม แก่มารดาวัยรุ่นเพื่อส่งผลลด ความเครียดในมารดาวัยรุ่น

 

Factors predicting parenting stress in adolescent mothers of first-born infants

Background : Adolescent mother is crucial in that she has to responsible in taking care of herbaby while she is teenager. Thus, parenting stress among adolescent mothers is inevitable. There were many related factors of parenting stress. Understanding about predicting factors in adolescent mothers would have been beneficial for further intervention.

Objectives : The purpose of this study was to examine factors predicting parenting stress in adolescent mothers of first-born infants.

Method : Simple random sampling was used to recruit the sample of 91 dyads of adolescent mothers and their infants receiving services at well-baby clinic of Prapokklao hospital, Chanthaburi province. Research instruments included 6 self-report questionnaires completed by adolescent mothers.

Results : Results revealed that mother’s self-efficacy, types of mother’s occupa­tion, social support and infant temperament were accounted for 34.1 (F3,87 = 14.937, p <.001) in the prediction of parenting stress in adolescent mothers. The best and significant predictor was social support accounted for 24.8 ( β= -.34, t = -3.36, p < .01), the second best was infant temperament increasing accounted for 5.5 ( β= -.22, t = -2.37, p < .05) and the third best was mother’s self-efficacy increasing accounted for 3.7 ( β= -.22, t = -2.21, p< .05) in the prediction.

Conclusion : These findings suggested that nurse and relevant health care personnel for babies and adolescent mothers should be aware of and promote social support to mothers, especially in adolescent mothers with first-born infants. It would be resulted in lessen parenting stress in adolescent mothers.

Article Details

Section
Original Article