ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในโรงพยาบาลขลุง จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
Abstract
ที่มาของปัญหา : พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ส่งผลให้เชื้อดื้อยาเพิ่มมากขึ้นและอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพรวมทั้งสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจของประเทศ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในโรงพยาบาลขลุง จังหวัดจันทบุรี
วิธีการและผลการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลขลุง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 120 คน ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง สิงหาคม 2556 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีค่า Cronbach’s alphas เท่ากับ 0.51 และ 0.75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ(Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าผู้รับบริการส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 57.5 มีความรู้การใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ในระดับปานกลางและร้อยละ 25.0อยู่ในระดับต่ำและร้อยละ 17.5 อยู่ในระดับสูง สำหรับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ พบว่าผู้รับบริการส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 68.3 อยู่ในระดับดี และร้อยละ 30.9อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่า อายุ ระดับการศึกษาการได้รับคำแนะนำในการใช้ยาปฏิชีวนะและความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 17.6 (R2 = .176) เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย(Beta)จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้ง 4ตัวแปรพบว่าความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะเป็นปัจจัยที่มีอำนาจทำนายพฤติกรรมมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Beta = 0.410, t =4.622, p <.001) ส่วนอายุ ระดับการศึกษาการได้รับคำแนะนำในการใช้ยาปฏิชีวนะ เป็นปัจจัยที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : ความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการดังนั้น เพื่อการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้อง โรงพยาบาลจึงควรเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องด้วยวิธีการให้ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
Influencing Factors of Antibiotics Use Behavior of Clients in Khlung Hospital,Chanthaburi
Background : Inappropriate use of antibiotics results from various factors and causes adverse effects as well as waste of resources of the country.
Objective : To examine influencing factors of antibiotics use behavior of clients in Khlung Hospital, Chanthaburi.
Material&methods : This descriptive study was conducted by collecting data from 120 clients Khlung Hospital, Chanthaburi during June to August 2013. Data were assessed by a test about knowledge of antibiotics use and a questionnaire about antibiotics use behavior. The Cronbach’s alphas of the research instrument were 0.51 and 0.75, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and multiple regression.
Conclusions : Knowledge about antibiotics use was found to be the significant influencing factor of antibiotics use behavior in clients, thus the hospital should employ effective strategies to enhance knowledge about appropriate antibiotics use to the clients.