The Relationships between Socio-demographic Characteristics, Structural Empowerment, Psychological Empowerment and Job Satisfaction of Community Health Volunteers in Indonesia

Main Article Content

I Gusti Ngurah Made Kusuma Negara
Anchaleeporn Amatayakul
Monthana Hemchayat

Abstract

Background : Generally, human resources are the most essential for the process of developing healthy communities. One of them is community health volunteers (CHVs). However, it is not easy to keep voluntary workers as part of health programs even though they have been trained. One of the efforts undertaken by the Government of Indonesia is to increase the role of integrated health service post and motivation of CHVs through integrated health service post revitalization and empowerment of CHVs.

Objective : To examine the relationships between socio-demographic characteristics, structural empowerment, psychological empowerment and job satisfaction of CHVs.

Methods : A descriptive correlation study design was used in this study. Three hundred and forty one CHVs were participated. Data were collected by questionnaires and were analyzed by computer program.

Results : Most of the samples were housewife with the average age of 39 years 5 months and were high school graduates. The results showed that some of socio-demographic characteristics of CHVs including age, years of experience and training experience were significantly positively related to job satisfaction. However, the marital status, level of education and occupation of respondents were not significantly associated with job satisfaction. It was also found that structural empowerment and psychological empowerment were significantly positively associated with job satisfaction of CHVs.

Conclusion : The results of this study suggest that CHVs who had a chance to improve structural empowerment and psychological empowerment were more likely to have higher level of job satisfaction. Other factors which were not included in this study should be taken into account for further research about job satisfaction in CHVs.

 

ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางสังคมประชากร พลังอำนาจแบบมีโครงสร้าง พลังอำนาจทางด้านจิตวิทยาและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาสา สมัครสาธารณสุขในประเทศอินโดนีเซีย

ที่มาของปัญหา :อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนดูแลสุขภาพประชาชนใน ชุมชนให้มีสุขภาพดี โดยผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และปฏิบัติงาน ด้วยความเสียสละและสมัครใจโดยมีหน้าที่หลักในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมสุขภาพ อนามัย การสื่อข่าวสารสาธารณสุข การแนะนำเผยแพร่ความรู้ การวางแผน และประสานกิจกรรมพัฒนาสาธารณสุข ตลอดจนให้บริการสาธารณสุขด้านต่างๆ เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังและ ป้องกันโรค การช่วยเหลือและรักษาพยาบาลขั้นต้น ซึ่งโดยทั่วไปความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน มีผล ทางบวกต่อผลลัพธ์และประสิทธิภาพในการทำงาน การศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างพลัง อำนาจแบบมีโครงสร้าง พลังอำนาจทางด้านจิตวิทยาและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร สาธารณสุขในประเทศอินโดนีเซีย

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างลักษณะทางสังคมประชากร พลังอำนาจแบบมีโครงสร้าง พลัง อำนาจทางด้านจิตวิทยาและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในประเทศ อินโดนีเซีย

วิธีการศึกษา :รูปแบบการวิจัยเป็นแบบการศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนาในอาสาสมัครสาธารณสุข จังหวัด Denpasar ประเทศอินโดนีเซีย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 341 คน

ผลการศึกษา :กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน อายุเฉลี่ย 39 ปี 5 เดือน และจบการ ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางสังคมประชากรที่คัดสรร ได้แก่ อายุ จำนวนปีของประสบการณ์ และจำนวนปีของการฝึกอบรม มีความสัมพันธ์ ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข อย่างไรก็ตามสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอาชีพ มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับความพึงพอใจในการปฏิบัติ งานของอาสาสมัครสาธารณสุข นอกจากนี้ยังพบว่าพลังอำนาจแบบมีโครงสร้าง พลังอำนาจทางด้าน จิตใจมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ อาสา สมัครสาธารณสุขในประเทศอินโดนีเซีย

สรุป : ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนที่ได้เพิ่มพลังอำนาจแบบมีโครงสร้างและ พลังอำนาจทางด้านจิตวิทยามีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเพิ่มสูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยอื่นๆที่ไม่รวมอยู่ใน การศึกษาครั้งนี้ควรมีการพิจารณาศึกษาสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป

Article Details

Section
Original Article