คุณภาพชีวิตของผู้ที่ได้รับขาเทียมระดับเหนือเข่าและใต้เข่า หน่วยกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลระยอง

Main Article Content

นฤมล กมลสวัสดิ์

Abstract

ที่มาของปัญหา : คนพิการที่ถูกตัดขา ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลกระทบ ต่อคุณภาพชีวิต การทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับขาเทียม จะนำไปสู่การ พัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับขาเทียมระดับเหนือ เข่าและใต้เข่า

รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง

สถานที่ทำการวิจัย : กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู หน่วยกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลระยอง

กลุ่มตัวอย่าง : ผู้ป่วยที่ได้รับขาเทียมระดับเหนือเข่าหรือใต้เข่า จำนวน 50 คน ในช่วงเดือนเมษายน 2556 ถึง ตุลาคม 2556

วิธีการศึกษา : ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล 2 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลด้านคุณภาพชีวิต โดย ใช้ WHOQOL-BREF ฉบับภาษาไทย

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 45 ปี (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.49) ร้อยละ 88 เป็นเพศชาย ร้อยละ 12 เป็น เพศหญิง โดยร้อยละ 28 เป็นผู้ป่วยที่ได้รับขาเทียมระดับเหนือเข่า และร้อยละ 72 เป็นผู้ป่วยที่ได้รับ ขาเทียมระดับใต้เข่า ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตด้านร่างกายเท่ากับ 20 คะแนน (ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน 2.79) คุณภาพชีวิตด้านจิตใจเท่ากับ 21.82 คะแนน (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.41) คุณภาพ ชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคมเท่ากับ 8.92 คะแนน (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.71) คุณภาพชีวิตด้าน สิ่งแวดล้อมเท่ากับ 24.66 คะแนน (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.85) คุณภาพชีวิตโดยรวมเท่ากับ 75.4 คะแนน (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.46) โดยคะแนนคุณภาพชีวิตทุกด้านบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิต ระดับกลางๆ โดยกลุ่มที่ไม่มีโรคประจำตัวมีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวม คุณภาพชีวิตด้านร่างกายและ ด้านสังคมสูงกว่ากลุ่มที่มีโรคประจำตัว (p = .007, .040 และ .003 ตามลำดับ) ปัจจัยด้านผลกระทบต่อ การทำงานมีผลต่อคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมและด้านร่างกาย (p = .020 และ .003 ตามลำดับ) ส่วน ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว มีผลต่อคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวม (p = .01)

สรุป : คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับขาเทียมระดับเหนือเข่าและใต้เข่าอยู่ในระดับกลางทุกด้าน โดย ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม ได้แก่ โรคประจำตัว ผลกระทบต่อการทำงาน และความสัมพันธ์ ในครอบครัว ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ได้แก่ โรคประจำตัว และผลกระทบต่อการ ทำงาน ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านสังคม ได้แก่ โรคประจำตัว


Quality of life of trans-femoral and trans-tibial amputees after receiving prosthesis at prosthetic and orthotic unit, Rayong Hospital

Background : Disable people which amputated cause physical, mental, social and economic problems which affects the quality of life. Knowing the factors that affect quality of life of amputees after receiving prosthesis will lead to development of rehabilitation for improve quality of life.

Objectives : To study quality of life (QOL) and factors affecting QOL of trans-femoral and trans-tibial amputees after receiving prosthesis.

Study design : Cross-sectional descriptive study

Setting : Prosthetic & Orthotic Unit, Rayong Hospital

Samples : Fifty patients who received trans-femoral or trans-tibial prosthesis during April 2013 – October 2013

Methods : The samples were interviewed with a 2 – part questionnaire : demographic data and WHOQOL-BREF-THAI Results : The samples included 88 percent males and 12 percent females with an average age of 45 years old (SD 11.49); 28 percent trans-femoral and 72 percent trans-tibial amputees. The average QOL scores of physical, psychological, social relationships, environmental and overall were 20 (SD2.79), 21.82 (SD2.41), 8.92 (SD1.71), 24.66 (SD1.85) and 75.4 (SD6.46) respectively. These reflected the moderate level of quality of life. Amputees without chronic disease had better QOL score of overall, physical and social relationships than amputees with chronic disease (p=.007, . 040 and .003 respectively). Impact on work were significantly related with overall and physical QOL score (p=.020 and .003 respectively). Furthermore, relationships in the family were significantly related with overall QOL score (p=.01).

Conclusion : Quality of life of trans-femoral and trans-tibial amputees after receiving prosthesis was in a moderate level in all dimension. Factors affecting overall QOL were chronic disease, impact on work and relationships in the family. Factors affecting QOL regarding physical dimension a consisted chronic disease and impact on work. Factors affecting QOL as to social relationships dimension was chronic disease.

Article Details

Section
Original Article