การศึกษาความแม่นยำของเครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผากด้วยอินฟราเรดในผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
Abstract
ที่มาของปัญหา : การวัดปรอททางรักแร้ในเด็กป่วยที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกมีความไม่สะดวกเพราะเด็กมักจะไม่ร่วม มือและต้องใช้เวลาในการตรวจวัดนาน
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความแม่นยำของการวัดอุณหภูมิร่างกายเด็กทางหน้าผากด้วยเครื่องอินฟราเรด เปรียบเทียบกับการวัดทางรักแร้ และเพื่อทดสอบการตรวจคัดกรองภาวะไข้ด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิทาง หน้าผากด้วยอินฟราเรด
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ Cross-sectional analytic study ในผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการที่ห้องตรวจ ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี จำนวน 279 คน เด็กแต่ละคนได้รับการวัดอุณหภูมิ ร่างกาย 2 วิธี โดยใช้ปรอทวัดทางรักแร้ เป็นเวลา 7 นาที และวัดทางหน้าผากด้วยอินฟราเรดด้วยเครื่อง Microlife รุ่น FR1DZ1 การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อเปรียบเทียบค่าอุณหภูมิที่วัดทั้งสอง โดยการคำนวณ หาหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) mean difference และ 95%CI ค่า Sensitivity, ค่า Specificity, Predictive value และ ROC curve
ผลการศึกษา : ค่าอุณหภูมิทางหน้าผากด้วยอินฟราเรดกับค่าอุณหภูมิทางรักแร้มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.87, p < 0.01) อุณหภูมิที่วัดทางหน้าผากสูงกว่าที่วัดทางรักแร้อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference=-0.24, 95% CI=-0.29,-0.18; p < 0.01) ในการทำนาย ค่าอุณหภูมิทางรักแร้ที่จุดตัด >37.8 องศาเซลเซียส และ >38.0 องศาเซลเซียส คำนวณพื้นที่ใต้กราฟ ROC ได้ร้อยละ 97.3 (95% CI=98.7 - 99) และ 99.2 (95% CI=98.3 - 100) ความแม่นยำของการวัด อุณหภูมิทางหน้าผากในการทำนายค่าอุณหภูมิทางรักแร้ที่จุดตัด >38.0 องศาเซลเซียส พบว่า Sensitivity เท่ากับร้อยละ 91.9 Specificity เท่ากับร้อยละ 95.4 Positive predictive value เท่ากับ ร้อยละ 75.5 และ Negative predictive value เท่ากับร้อยละ 98.7
สรุป : การวัดอุณหภูมิร่างกายทางหน้าผากด้วยอินฟราเรด มีความถูกต้องแม่นยำและใช้คัดกรอง ภาวะไข้ในเด็กได้เป็นอย่างดี เมื่อเทียบกับการวัดด้วยปรอททางรักแร้ ทำให้ลดระยะเวลาในการให้บริการ ได้อย่างมาก
Accuracy of infrared forehead skin thermometer in acutely ill children at out-patient department, Prapokklao Hospital
Background : Axillary temperatures routinely measured by glass thermometers at Pediatric out-patient department are inconvenient because of uncooperative patients and time consuming.
Objectives : To determine the accuracy of infrared forehead skin thermometer compared with the axillary glass thermometer measurement and its applicability in fever screening in acutely ill children. Methods : A cross-sectional analytic study was conducted at Out-Patient Department, Prapokklao Hospital. Body temperatures in degree Celsius of the participants were measured simultaneously using two methods in 279 acutely ill children. Axillary temperatures were measured by glass thermometer and infrared forehead skin temperatures were measured by Microlife model FR1DZ1. Correlation coefficient, mean difference and 95%CI, sensitivity, specificity, predictive value and ROC curve were calculated.
Results : There was a significant correlation between axillary temperature and infrared forehead skin temperature (r= 0.87, p < 0.01). The forehead skin temperature was significantly higher than axillary temperature (Mean difference=-0.24, 95% CI=-0.29,-0.18; p < 0.01). Area under the receiver operating characteristic (ROC) curves in determining value of forehead skin temperatures for predicting cutpoints of axillary temperatures at >37.8 C and >38.0 C were 97.3 percent (95% CI=98.7 - 99) and 99.2 percent (95% CI= 98.3 - 100), respectively. Sensitivity, specificity, positive predictive value and negative predictive value for detecting axillary temperature >38.0 C with the infrared forehead skin thermometer were 91.9 percent, 95.4 percent, 75.5 percent and 98.7 percent, respectively.
Conclusion : The infrared forehead skin temperatures could reliably predict axillary temperatures at >38.0 C. Therefore, the findings of this study suggest that this method can replace glass thermometer for fever screening in acutely ill children.