ผลของการให้ความรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม และการติดตามทางโทรศัพท์ ต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง
Main Article Content
Abstract
ผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง จากการ ศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าผู้สูงอายุเหล่านี้มักขาดความรู้และการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง วัตถุประสงค์ของการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่ม วัดก่อนหลัง การทดลองนี้มีเพื่อพัฒนาการให้ความ รู้และส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ โดยใช้กระบวนการกลุ่มและการ ติดตามทางโทรศัพท์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในตำบลต้นตาล และตำบลทับกวาง จังหวัด สระบุรี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 35 คน ทำการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มทดลองก่อนหลังการการทดลอง และระหว่าง กลุ่มโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับความรู้เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ (t = 2.5, p <.-05) และ การปฏิบัติตน (t = 4.24, p <.01) เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบ ว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ (t = 30.85, p <.01) และการปฏิบัติตน (t = 6.62, p <.01) เพื่อ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษา นี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการใช้กระบวนการกลุ่มและการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ในการส่ง เสริมความรู้และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง
Effects of education program using group process and telephone follow up on stroke prevention knowledge and practice in elderly with chronic illness
Elderly with chronic illness are at risk of having stroke. Previous study found lack of stroke knowledge and prevention among this group. The purpose of this quasi experimental, two group pre-post test research design was to develop stroke related knowledge and prevention using group process and telephone follow up. Participants were elderly with chronic illness lived in Tontan and Tubkwang districts, Saraburi province. There were 35 elderly in each of intervention and control group. T-test statistic was used to compare mean scores of stroke prevention knowledge and practice at pre-post test within group and between groups. Finding revealed significantly increased of stroke knowledge (t = 2.5, p <.05) and practice (t = 4.24, p <.01) at post test in the intervention group. The intervention group had significantly higher mean scores of stoke prevention knowledge (t = 30.85, p <.01) and practice (t = 6.62, p <.01) than the control group. This study provide support for the effectiveness of group process and telephone follow up on promoting stroke prevention knowledge and practice among elderly with chronic illness.