ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และ การป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี
Main Article Content
Abstract
บทนำ : ปัจจุบันวัยรุ่นมีค่านิยมเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและเสี่ยงต่อ การเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รวมทั้งโรคเอดส์เพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์ : เพื่อสำรวจและเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกัน การตั้งครรภ์ระหว่างนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย และระหว่างปีการศึกษา 2554 และปีการศึกษา 2555 ในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 445 คน จากโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมือง สระบุรี 7 แห่ง
วิธีการศึกษา : การสำรวจใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยง KR-20 เท่ากับ .75 วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบด้วยสถิติที่อิสระ
ผลการศึกษา : นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.75 มีอายุระหว่าง 13-16 ปี (M =13.86, SD =.57) มี คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์อยู่ใน ระดับน้อย ร้อยละ 61.80 (M = 5.90, SD = 3.00) จากคะแนนเต็ม 18 คะแนน นักเรียนหญิงและนักเรียน ชายมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่แตกต่างกัน พบว่าเพศมีอิทธิพลขนาดเล็กต่อคะแนนความรู้ (d = .08) นักเรียนรุ่นปีการศึกษา 2555 มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ มากกว่ารุ่นปีการศึกษา 2554 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สรุปผล : ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ที่เหมาะสมแก่วัยรุ่นโดยรวมและวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยง
Knowledge about sexually transmitted diseases and pregnancy prevention among secondary school students in schools under the Saraburi Municipality.
Background : Current values among teens of early sexual activities resulting unplanned pregnancy and increasing risk of sexually transmitted diseases (STDs) as well as AIDS.
Objective : To examine and compare knowledge about sexually transmitted diseases and pregnancy prevention between male and female; academic year 2004 and 2005 of 445 students from 7 municipal schools.
Material and method : The STDS and pregnancy prevention questionnaire which developed by the researcher was used for data collection. The questionnaire’s reliability tested by KR-20 was .75. Data analysis was conducted using descriptive statistics and t-test independent.
Results : The results revealed that male students was 57.75 percent, age ranged from 13-16 years (M = 13.86, SD = .57). The mean knowledge score of sexually transmitted diseases and pregnancy prevention was at low level (61.80 percent, M = 5.90, SD = 3.00) out of 18. The knowledge scores of female and male students were not significantly different and gender had small effect size on knowledge (d = .08). The knowledge scores of students in academic year 2555 (M = 6.40, SD = 3.19) was statistically significant higher than academic year 2554 (M = 5.49, SD = 2.78) (p < .01)
Conclusion : These findings provide information to guide teachers to improve knowledge and attitude about premature sex for teenagers in general and students at risk.