ผลต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว
Main Article Content
Abstract
บทนำ : ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมีอัตราตาย เจ็บป่วยเรื้อรัง และพิการสูงกว่าทารกแรกเกิดน้ำหนักปกติ และถือเป็นปัญหาสำคัญของประเทศจากรายงานของโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยวพบว่าอัตราการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาดังนั้นการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการ เกิดภาวะนี้จะมีประโยชน์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนแก้ไขปัญหาได้
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort study ศึกษาทารกแรกเกิดมีชีพทุกคนที่เกิดในโรง พยาบาลบางน้ำเปรี้ยวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2555 ทั้งหมด 733 คน ซึ่ง 51 คน อยู่ในกลุ่มศึกษา (น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม) และอีก 682 คน อยู่ในกลุ่มเปรียบ เทียบ (น้ำหนักแรกเกิดมากกว่าหรือเท่ากับ 2,500 กรัม) ทำการรวบรวมข้อมูลที่บันทึกไว้ในทะเบียน คลอดและเวชระเบียนผู้ป่วย รายงานผลอุบัติการณ์ในรูปร้อยละ และวิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการ เกิดของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยโดยใช้สถิติ Chi – square test
ผลการศึกษา : อุบัติการณ์การเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยวเท่ากับร้อยละ 6.96 และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ (p = .001) การไม่ฝากครรภ์หรือฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์คุณภาพ 4 ครั้ง (p = .001) การมีเลือดออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ (p = .013) ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของ มารดาก่อนคลอดน้อยกว่า 24 กิโลกรัม/เมตร2 (p = .019) และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์น้อย กว่า 10 กิโลกรัม (p = .006)
สรุป : เนื่องจากทั้ง 5 ปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ดังนั้นจึง ควรเน้นให้แพทย์พยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงอันตรายและผลเสียของภาวะทารกแรก เกิดน้ำหนักน้อย และช่วยกันป้องกันการเกิดภาวะนี้โดยให้ความสนใจมารดาที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ซึ่ง จะทำให้ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยลงได้
Risk factors of low birth weight newborns in Bangnamprieo Hospital
Objectives : To find out the incidence of low birth weight newborn in Bangnamprieo Hospital and to identify risk factors associated with low birth weight.
Material and Methods : The study was retrospective cohort study. 733 newborns who born between 1st October 2011 to 30th September 2012 at Bangnamprieo Hospital were included. 51 newborns were the study group (Birth weight < 2,500 grams) and 628 newborns were the control group (Birth weight ≥2,500 grams). Collected data from delivery’s records and patient’s records. Data were analyzed by Chi-square test.
Results : Low birth weight rate was 6.96 percent. The analysis showed that gestational age < 37 weeks (p = .001), no ANC or ANC < 4 visits (p = .001), vaginal bleeding in pregnancy (p = .013), prelabour maternal BMI < 24 kgs/m2 (p = .019), and pregnancy weight gain < 10 kgs (p= .006) were significant risk factors associated with low birth weight.
Conclusion : From these findings, all 5 factors (gestational age < 37 weeks, no ANC or ANC < 4 visits, vaginal bleeding in pregnancy, prelabour maternal BMI < 24 kgs/m2, and pregnancy weight gain < 10 kgs) were risk factors of having low birth weight newborn. So the doctors, nurses and hospital personnel team should be concern the hazard and bad outcomes of low birth weight newborns, and helping to prevent preterm delivery. More concerns for pregnant women with these risk factors may reduce the incidence of low birth weight newborn.