ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากร ในสังกัดกลุ่มอำนวยการ โรงพยาบาลตราด
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการทำงาน และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการ ทำงานของบุคลากรในสังกัดกลุ่มอำนวยการโรงพยาบาลตราด
รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง (cross - sectional analytical research)
สถานที่ศึกษา : โรงพยาบาลตราด จังหวัดตราด
กลุ่มศึกษา : กลุ่มตัวอย่างในเรื่องนี้คือประชากรกลุ่มอำนวยการ โรงพยาบาลตราดทุกคนในช่วงเวลาที่ศึกษา จำนวน 164 คน
วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง (cross - sectional analytical research) ในกลุ่มตัวอย่าง เป็น บุคลากรในสังกัดกลุ่มอำนวยการโรงพยาบาลตราดทุกคนในช่วงเวลาที่ศึกษา จำนวน 164 คนเก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยผู้วิจัยชี้แจงให้บุคลากรทราบถึงความหมายของข้อคำถามแต่ละ ข้อ แจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างเพื่อตอบแบบสอบถาม ผู้วิจัยรับแบบสอบถามคืน ตรวจสอบความ สมบูรณ์ครบถ้วน นำแบบสอบถามลงรหัส และบันทึกในคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ ข้อมูล โดยใช้ค่าวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ ปัจจัย ค้ำจุน และความพึงพอใจ โดยการหาค่าแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ทดสอบความแตกต่างระหว่าง ตัวแปรอิสระซึ่งได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนกับความพึงพอใจในการทำงานของ บุคลากร โดยใช้ t-test หรือ F-test และกรณีที่พบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) จะวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe
ผลการศึกษา : บุคลากรในสังกัดกลุ่มอำนวยการ มีระดับความพึงพอใจในการทำงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก บุคลากรที่มีอายุ รายได้ ระยะเวลาที่ทำงาน และตำแหน่งปัจจุบันที่ต่างกันมีความพึงพอใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) สำหรับบุคลากรที่เพศ และการศึกษาที่ต่างกันมีความพึงพอใจในการ ทำงานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) บุคลากรที่มีปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ความสำเร็จในการทำงาน การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าในการทำงาน บุคลากรมีความพึงพอใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และบุคลากรที่มีปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ ค่าตอบแทน การบังคับบัญชา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน นโยบายและการบริหาร ของหน่วยงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานบุคลากรมีความพึงพอใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
สรุป : จากการศึกษาความพึงพอใจในงานของบุคลากรสังกัดกลุ่มอำนวยการ โรงพยาลบาลตราด พบว่า บุคลากรสังกัดกลุ่มอำนวยการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยนำไปใช้เป็นข้อมูล เพื่อประกอบการตัดสินใจในการบริหารงาน ของผู้ บริหารโรงพยาบาล และผู้บริหารของกลุ่มอำนวยการมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อนำมาซึ่งความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสังกัด กลุ่มอำนวยการทั้งหมดในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของบุคลากรตลอดจนปัจจัย ที่บุคลากรคิดว่าเป็นปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน ที่มีความพึงพอใจมากหรือน้อย เช่น ในการทบทวน ระบบค่าตอบแทนโดยปรับให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม ปรับปรุงระบบงานไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน สร้างจิตสำนึกในการให้บริการ พัฒนาให้ทีมงานมีความสัมพันธ์ที่ดี และรักหน่วยงานมากขึ้น สนับสนุนให้บุคลากความก้าวหน้าในสายงานที่ดำรงตำแหน่ง และมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน
Job satisfaction of personnel under the health director in Trat Hospital.
Objective : To study the job satisfaction level and to investigate the factors influencing the job satisfaction of the staff under the supervision of administration group of Trat Hospital.
Design : Cross-sectional analytical research
Setting : Trat Hospital, Trat province
Method : It was the cross-sectional analytical research whereas the sampling group was the population under the supervision of administration group of Trat Hospital for 164 subjects. The data was collected based on questionnaire: the interpretation and definition was made to the subjects, the questionnaires were distributed and returned after completion, the accuracy and completeness were checked, the questionnaires were coded and recorded in the computer based on the packaged program. The descriptive analysis related to personnel factors, motivation factors, sustainability factors was made based on frequency distribution, percentage, independent variable difference such as personnel factors, motivation factors, and sustainability factors compared with the staff’s job satisfaction with t-test or F-test. In case the mean differences of each variable was significantly found at p<.05, then Scheffe was used.
Results : The staff under the supervision of administration group has a high level of satisfaction. The staff with age, income, working duration, and present position has significant satisfaction at .05 whereas the different gender and education has insignificant satisfaction level at .05. Furthermore, the staff with motivation factors such as work achievement, recognition, job description, responsibility, and work advancement, the staff has significant satisfaction at .05. Finally, the staff with sustainability factors such as remuneration, work hierarchy, personal relation, policy and administration of the work department, and work environment has significant satisfaction level at .05.
Conclusion : According to the study of job satisfaction of the staff under the supervision of administration group of Trat Hospital, it was found that most staff under the supervision of administration group has a high satisfaction. The result will be applied to make decision related to the job administration of the hospital director and the management level of the administration unit in order to determine the organizational strategy to achieve the ultimate job satisfaction of the staff under the supervision of administration group and to enhance the efficiency and effectiveness of the staff and the factors of motivation and sustainability such as the review of remuneration system with fair and appropriate adjustment, work system adaptation without complication, service minded embedding, development of staff relationship with good stability and more work passionate, support of staff advancement in their work unit and job security.