ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำในการใช้ยา Hydrochlorothiazide รักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

Main Article Content

วิริยา พัฒนพูนสิน

Abstract

การศึกษาแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่รักษาด้วยยา Hydrochlorothiazide ขนาด 25 มิลลิกรัมต่อวัน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่มารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล ในจังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2556 จำนวน 384 ราย โดยบันทึกข้อมูลพื้นฐาน ซักประวัติ ตรวจร่างกายและส่งตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการโดยระดับโพแทสเซียมในเลือดที่น้อยกว่า 3.5 มิลลิโมลต่อลิตร จะวินิจฉัยภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบปัจจัยที่มีผล โดยใช้สถิติ Chi-square และ t-test

ผลการศึกษาพบว่าระดับโพแทสเซียมในเลือดของผู้ป่วย มีการกระจายค่าอยู่ระหว่าง 1.9-4.9 มิลลิโมลต่อลิตร และพบความชุกของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำเท่ากับร้อยละ 43.5 โดยมีระดับต่ำเล็กน้อย (3.0-3.4 มิลลิโมลต่อลิตร) ร้อยละ 33.9 ต่ำปานกลาง (2.5-2.9 มิลลิโมลต่อลิตร) ร้อยละ 9.1 และต่ำมาก (น้อยกว่า 2.5 มิลลิโมลต่อลิตร) ร้อยละ 0.5 และพบว่าการใช้ยา Enalapril ร่วมกับ Hydro­chlorothiazide สามารถป้องกันภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=0.43, 95 percent CI=0.28-0.65, p-value < 0.001) โดยค่าเฉลี่ยระดับโพแทสเซียมในเลือดของกลุ่มที่ใช้ยา Enalapril สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean diff = 0.23, 95 percent CI=0.14-0.31, p-value <0.001)

โดยสรุป พบความชุกของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่รักษาด้วย ยา Hydrochlorothiazide ค่อนข้างสูง จึงควรมีการประเมินและเฝ้าติดตามระดับโพแทสเซียมในเลือด ของผู้ป่วยที่ใช้ยานี้ทุกราย  


Prevalence and associated factors of hypokalemia in therapeutic use of hydrochlorothiazide in hypertensive patients.

A cross-sectional study was conducted to determine the prevalence and factors that induced hypokalemia in treating hypertension with Hydrochlorothiazide 25 mg once daily. The 384 patients who diagnosed as hypertension and treated at outpatient unit of hospital in Nakhonsawan province during June 2012 to May 2013 were recruited into the study. The baseline data, medical history, physical examination and blood chemistry were recorded. The less than 3.5 mmol/l of serum potassium was determined as hypokalemia. Data was analyzed by using chi-square and t-test and reported the prevalence and as­sociated factors.

The results revealed that the serum potassium levels of patients had a distribution ranging from 1.9 to 4.9 mmol/l and the prevalence of hypokalemia was 43.5 percent. Of these, mild hypokalemia (3.0-3.4 mmol/l) was 33.9 percent, moderate hypokalemia (2.5- 2.9 mmol/l) was 9.1 percent and severe hypokalemia (< 2.5 mmol/l) was 0.5 percent. The significant protective factor that decreased hypokalemia was the combined using of Enalapril with Hydrochlorothiazide (OR= 0.43, 95 percent CI=0.28-0.65, p-value < 0.001) and the mean serum potassium of the combined Enalapril group was significantly higher than non-using group. (Mean diff= 0.23, 95 percent CI=0.14-0.31, p-value < 0.001)

In conclusion, the prevalence of hypokalemia in treatment hypertensive patients with Hydrochlorothiazide was very high. This study findings support the importance of assessing and monitoring the serum potassium level in every patient who treated with this drug.

Article Details

Section
Original Article