เปรียบเทียบการตอบสนองต่อความเจ็บปวด จากการถูกเจาะเลือดในทารกแรกเกิดครบกำหนด ขณะกำลังดูดนมแม่ และหลังจากดูดนมแม่แล้ว

Main Article Content

บุณยาพร พันธิตพงษ์

Abstract

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในการลดระดับความเจ็บปวดของทารกแรกเกิดจากการเจาะเลือดขณะให้ลูกดูดนมแม่และหลังจากให้ลูกดูดนมแม่แล้ว

วิธีการศึกษา : ศึกษาในทารกแรกเกิดครบกำหนดจำนวน 75 คนที่ต้องถูกเจาะเลือดตามกระบวนการดูแลทารก ตามปกติที่อายุ 48 ชั่วโมง โดยทารกจะถูกจับสลากแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ถูกเจาะเลือดขณะ กำลังดูดนมแม่ กลุ่มที่ 2 ถูกเจาะเลือดหลังดูดนมแม่อิ่มแล้วไม่เกิน 10 นาที และกลุ่มที่ 3 ถูกเจาะเลือด ขณะที่ไม่ได้ดูดนมแม่มานานเกิน 1 ชั่วโมงแล้ว แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง แล้ววัดการตอบสนองต่อความเจ็บ ปวดทางสรีระด้วยอัตราการเต้นของหัวใจและ ค่า O2 saturation ที่เปลี่ยนแปลงวัดพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อความเจ็บปวดด้วย ระยะเวลานานของการร้องไห้และ Neonatal Infant Pain Scale

ผลการศึกษา : ระยะเวลานานของการร้องไห้และ Neonatal Infant Pain Scale ในทารกที่ถูกเจาะเลือดขณะ กำลังดูดนมแม่ น้อยกว่าในกลุ่มที่ 2 และ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยไม่มีความแตก ต่างกันระหว่างกลุ่มที่ 2 และ 3 ส่วนการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจและ ค่า O2 saturation ในทั้ง 3 กลุ่มไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป : ในทารกแรกเกิดครบกำหนดที่คลอดปกติและไม่มีภาวะแทรกซ้อน การดูดนมแม่ขณะถูกเจาะเลือดช่วยลดระยะเวลาการร้องไห้และการตอบสนองต่อความเจ็บปวดจากการวัดด้วย Neonatal Infant Pain Scale

 

Comparative study of responses to pain from venipuncture in healthy term neonates during and after breastfeeding: randomized controlled trial.

Objective : To compare the crying time and responses to pain from venipuncture in healthy term neonates during and after breastfeeding.

Method : A randomized controlled trial was conducted in 75 neonates undergoing venipuncture. Infants were randomly assigned to three groups: (i) being breastfed (group 1, n=25), (ii) after breastfeeding less than 10 minutes (group 2, n= 25) or (iii) after breastfeeding 1 hour but less than 2 hours. Physiologic responses to pain were measured by heart rate and oxygen saturation changes and behavioral responses were measured by duration of crying and neonatal infant pain scale (NIPS).

Results : There was no significant difference between the groups in clinical charac­teristics and time spent venipuncture. Length of crying and neonatal infant pain scale were significantly reduced in groups 1 compared with group 2 and 3 (p < 0.05). There was no difference in group 2 and 3. There was no significant difference between the groups in heart rate and oxygen satura­tion changes.

Conclusion : In healthy term neonates, breastfeeding reduced length of crying and neonatal infant pain scale. Breastfeeding before venipuncture did not as effective as being breastfed.

Article Details

Section
Original Article