ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในมารดาอายุมาก และมารดาวัยผู้ใหญ่ ณ โรงพยาบาลพะเยา
Main Article Content
Abstract
ที่มาของปัญหา : มารดาผู้ตั้งครรภ์อายุ 35 ปี หรือมากกว่า แนวโน้มมีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์เพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และ การผ่าตัดคลอดระหว่างมารดาอายุมาก (อายุ 35 ปี หรือมากกว่า) และมารดาวัยผู้ใหญ่ (อายุ 20 ถึง 34 ปี)
วัสดุและวิธีการ : ศึกษาแบบพรรณนาย้อนหลังมารดาคลอดบุตรครรภ์เดี่ยว ณ โรงพยาบาลพะเยา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 รวบรวมข้อมูลจากบันทึกการแพทย์ และบันทึก สูติศาสตร์ เปรียบเทียบผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในมารดาอายุมากและมารดาวัยผู้ใหญ่
ผลการวิจัย : มารดาคลอดบุตรครรภ์เดี่ยวจำนวน 460 ราย แบ่งเป็นกลุ่มมารดาอายุมากและกลุ่มมารดาวัย ผู้ใหญ่ สุ่มจับคู่กับมารดาอายุมาก ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 กลุ่มละ 230 ราย ความชุกสัมพัทธ์ (ร้อยละ 95 ช่วงความเชื่อมั่น) ของกลุ่มมารดาอายุมากต่อกลุ่มมารดาวัยผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เท่ากับ 4.33 (1.25 ถึง 15.00) และการผ่าตัดคลอดสูงเท่ากับ 1.23 (1.04 ถึง 1.46) ขณะที่ภาวะ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และการผ่าตัดคลอด สูงมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยค่า p-value เท่ากับ 0.011, 0.001 และ 0.015 ตามลำดับ ส่วนภาวะโลหิต จาง ภาวะคลอดก่อนกำหนด ส่วนนำทารกผิดปกติ เด็กแรกเกิดมีคะแนน Apgar น้อยกว่า 7 ที่ 1 และ 5 นาทีหลังคลอด เด็กพิการแต่กำเนิด และการตายปริกำเนิด ในกลุ่มมารดาอายุมากสัดส่วนสูงกว่า กลุ่มมารดาวัยผู้ใหญ่ โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : มารดาอายุมากเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์
Pregnancy outcomes of elderly and adult gravidarum at Phayao Hospital
Background : The women who get pregnant at the age of 35 or more are more likely to have the obstetric complications.
Objective : To compare the proportion of pregnancy induced hypertension, gestational diabetes, and cesarean section between elderly (age of 35 years or more) and adult (age of 20 to 34 years) gravidarum.
Methods : The retrospective descriptive study of singleton deliveries at Phayao hospital was conducted during 1 October 2012 to 30 September 2013. The data were gathered from the medical and obstetric records, and compared the pregnancy outcomes among elderly and adult ones.
Results : There were 460 singleton parturients: divided into elderly pregnancy group, and adult pregnancy group matched with the former patients in the ratio of 1:1, with each of 230 subjects. The prevalence ratio (95% confident interval) of elderly to adult group included pregnancy induced hypertension of 4.33 (1.25 to 15.00), and cesarean section of 1.23 (1.04 to 1.46), while those factors of pregnancy induced hypertension, gestational diabetes, and cesarean section had the statistical significance of p-value of 0.011, 0.001, and 0.015, respectively. The anemia, preterm pregnancy, malpresentation, Apgar score of less than 7 at 1, and 5 minute after birth, congenital anomaly, and perinatal mortality, all had higher proportion in elderly mothers than adults, without statistical significance.
Summary : The elderly gravidarum is a risk factor of obstetric complications.