การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพ ภาพหลอดเลือดแดง 3 มิติ ระหว่าง โปรแกรมเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ กับโปรแกรมการจัดเก็บและรับส่งภาพทางการแพทย์

Main Article Content

ประพัทธ์ ภูมิศิริชโย

Abstract

ที่มาของปัญหา : การประยุกต์โปรแกรมเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) กับโปรแกรมการจัดเก็บ และ รับส่งภาพทางการแพทย์ (PACS) เข้าด้วยกัน น่าจะเป็นประโยชน์แก่การรักษาผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการวินิจฉัยโรคทางหลอดเลือดมีความจำเป็นต้องใช้เทคนิคการซ้อนทับเพื่อลบภาพทาง รังสีหลอดเลือด (Subtraction technique) ซึ่งโปรแกรม PACS เป็นระบบโปรแกรมปรับภาพที่ทันสมัย และมีการพัฒนาโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพสูง

วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบคุณภาพภาพหลอดเลือดแดง 3 มิติ ระหว่างโปรแกรมจากเครื่อง CT scan กับ โปรแกรม PACS ในแง่มุมของเวลาที่ใช้ในการทำภาพหลอดเลือดแดง 3 มิติ และความพึงพอใจของ รังสีแพทย์และรังสีเทคนิค

วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงวิเคราะห์ (analytic study) ชนิดย้อนหลัง (retrospective)จาก กลุ่มตัวอย่างภาพของผู้ป่วยเฉพาะที่มีการส่งตรวจทางรังสี CTA ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2556 จำนวน 43 ภาพ นำมาทำภาพหลอดเลือดแดง 3 มิติ เปรียบเทียบระหว่าง โปรแกรมเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) กับโปรแกรมจากการจัดเก็บและรับส่งภาพทางการ แพทย์ (PACS) เก็บข้อมูลในด้านระยะเวลาในการทำภาพหลอดเลือดแดง 3 มิติ และทำการประเมิน คุณภาพจากคะแนนความพึงพอใจของรังสีเทคนิค 10 คน และรังสีแพทย์ 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระยะเวลาในการทำและคุณภาพ ของภาพหลอดเลือดแดง 3 มิติ ระหว่างโปรแกรมเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์กับโปรแกรมการจัดเก็บ และรับส่งภาพทางการแพทย์ด้วยสถิติ independent t-test

ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลาโดยรวมในการทำภาพหลอดเลือดแดง 3 มิติจากโปรแกรมเครื่อง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เฉลี่ย 22.44 นาที (SD = 9.74) และโปรแกรมการจัดเก็บและรับส่ง ภาพทางการแพทย์ (PACS) 7.33 นาที (SD = 4.82) ซึ่งผู้ประเมินโดยรวมมีความพึงพอใจในคุณภาพ การทำภาพหลอดเลือดแดง 3 มิติจากโปรแกรมเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เฉลี่ย 3.58 (SD = 0.83 ) และโปรแกรมการจัดเก็บและรับส่งภาพทางการแพทย์ (PACS) 3.98 (SD = 0.79)โดย การทำภาพหลอดเลือดแดง 3 มิติจากโปรแกรมเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) โดยรวมมี คะแนนความพึงพอใจมากที่สุด อยู่ในระดับ ปานกลางร้อยละ 39.7 ส่วนการทำภาพหลอดเลือดแดง 3 มิติจากโปรแกรมการจัดเก็บและรับส่งภาพทางการแพทย์ (PACS) โดยรวมมีความพึงพอใจมากที่สุด อยู่ในระดับ มากร้อยละ 48.3 และการเปรียบเทียบระยะเวลา ในการทำภาพหลอดเลือดแดง 3 มิติ ระหว่าง โปรแกรมเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) กับโปรแกรมการจัดเก็บและรับส่งภาพ (PACS) มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) และเมื่อเปรียบเทียบความ พึงพอใจคุณภาพของภาพ จากการประเมินของเจ้าหน้าที่ทุกคน พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01)

สรุป : โปรแกรมการจัดเก็บและรับส่งภาพทางการแพทย์ (PACS) สามารถทำภาพหลอดเลือดแดง 3 มิติ โดยใช้เวลาในการทำภาพลดลง และมีคุณภาพดีกว่าภาพจากโปรแกรมเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ (CT scan) ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรคของแพทย์และผู้ป่วยได้รับการรักษา ได้เร็วขึ้น

 

The comparative study of the 3D artery image quality between the program CT scan and PACS

Background : The application programs the computed tomography (CT scan) with the program of storage and transmission of medical images (PACS) together to benefit the patients very much. In particular to the diagnosis of vascular disease. It is necessary to use the overlay to remove vascular radiology images (Subtraction Technique). Which adjust the PACS is an innovative and unique program developed for high performance applications.

Objective : To compare the quality and perform time and the satisfaction of radiologists and radiation techniques of 3D artery image between the program of the CT scan and analysis vascular program of PACS.

Method : This research was analytic study retrospective type. The samples were the patient who performed CTA in May - July 2013 about 43 images and then make 3D artery images. The data was collecting timing to performed 3D image and the satisfaction scores from 10 radiotechnologists and 4 radiologists. Then the data was analyzed by percentage, mean and standard deviation and compare the quality image and timing with the statistical independent t-test.

Results : The results showed that the total time from the CT scan program was average 22.44 minutes (SD = 9.74) , from the PACS program was 7.33 minutes (SD = 4.82). For assessment the overall satisfaction was the quality of 3D artery image of CT scan program was average 3.58 (SD = 0.83) and PACS program 3.98 (SD = 0.79). The image of 3D artery image by CT scan program has overall satisfaction rating most was moderate level 39.7 percent and the 3D artery image by PACS program has overall satisfaction rating most was more level 48.3 percent.The comparison of performed 3D image between CT scan and PACS program were different statistically significant (p-value < 0.01), and a comparison of the image quality satisfaction. Assessment of all officials found to be different statistically significant (p-value < 0.01).

Conclusion : PACS program make less time and better quality image of 3D artery from the CT scan program, making useful for the diagnosis for doctors and patients will be treated faster.

Article Details

Section
Original Article