ความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถแห่งตน และความคาดหวังผลลัพธ์ต่อการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสาธารณสุขเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

Main Article Content

เสรี เจตสุคนธร

Abstract

ที่มาของปัญหา : กระทรวงสาธารณสุขจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมของบุคลากรโดยการพัฒนาคนให้มีศักยภาพ สูงขึ้นและปรับตัวได้ทันการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถแห่งตนและความคาดหวังผลลัพธ์ต่อการปฏิบัติ งานของบุคลากรสาธารณสุขเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงพรรณนานี้โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 325 คน จากบุคลากรสาธารณสุขใน สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t- test และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

ผลการศึกษา : บุคลากรสาธารณสุขมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนความคาดหวังผลลัพธ์และพฤติกรรมการ ปฏิบัติงานเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับปานกลาง มาก และมากที่สุดตามลำดับ เมื่อจำแนกพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายด้าน ลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านวัฒนธรรม ด้านองค์ความรู้การแพทย์และสาธารณสุข ด้านภาวะผู้นำและการบริหารจัดการ ด้าน ทักษะจำเป็นในการปฏิบัติงาน ด้านการสร้างเครือข่ายพันธมิตร และด้านการวิจัยและการพัฒนาตนเอง ตามลำดับ การรับรู้ความสามารถแห่งตนและความคาดหวังผลลัพธ์มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปาน กลางและน้อย (r = 0.459, 0.224) กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข (p < .01) ผู้บริหารจะมีการรับรู้ความสามารถของตนและพฤติกรรมการปฏิบัติงานดีมากกว่าผู้ปฏิบัติงาน (p < .05) ยกเว้นความคาดหวังผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน

สรุป : การวางแผนงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุข จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัย ดังกล่าว โดยเน้นการฝึกอบรมในด้านการวิจัยและการพัฒนาตนเองการสร้างเครือข่ายพันธมิตรและ ทักษะจำเป็นเช่น ภาษาอังกฤษ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น ในการปฏิบัติงานการแพทย์และ สาธารณสุขให้พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเพิ่มขึ้น

 

The Relationship between Self-Esteem and Expectancy of Public Health Personnel on operating toward ASEAN Communities.

 Background : As Thailand is going to take part in ASEAN community, it is important for the public personnel to improve their potential so that they can fit into life within ASEAN and to take advantage of the economic integration in 2015.

Objective : The research was aimed at studying the relationship between self-esteem and expectancy of public health personnel on operating toward Asean Communities.

Methods : Means of simple random sampling technique was used to collect 325 samples from public health personnel under Chonburi Prcovincial Health Office. The reliability of the overall questionnaire was 0.97. Data analysis was carried out in term of percentage, mean, standard deviation, t-test, and correlation.

Results : The level of self-esteem, expectancy, and the ability on operating of public health personnel were moderate, high, and high consecutively.When considering each factors, the result was as follow descendingly; mo­rality and ethics, profession of public health, culture, medical knowledge, leadership and management, professional skills, relationship networks, and self-improvement. The level of self -esteem and expectancy of public health personnel were positively moderately, mildly correlated (r = 0.459, 0.224)with the behaviors of public health personnel (p < .01).The level of self-esteem and the ability on operating of public health administrators (p < .05) were higher than the public health officers.

Conclusions : Thus, it is necessary to consider those mentioned factors in order to arrange a policy on developing the potential of public health personnel. The policy should focus on supporting the public health personnel to get ready for ASEAN by improving their potential and research skill, relationship-building, and other essential skills.

Article Details

Section
Original Article