ผลสัมฤทธิ์ความถูกต้องในการใช้เทคนิคการตรวจวินิจฉัย ชิ้นเนื้อมะเร็งต่อมไทรอยด์ด้วยเทคนิคการย้อมสี H&E Staining แต่เพียงอย่างเดียว และเทคนิคการย้อมสี H&E Staining ร่วมกับ เทคนิคการย้อมสีพิเศษ Immunohistochemistry (IHC) ของผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจชิ้นเนื้อ
Main Article Content
Abstract
ที่มาของปัญหา : ความมุ่งหมายของการวิจัยเชิงบรรยายนี้ เพื่อศึกษาความถูกต้องในการตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคศัลยพยาธิของการใช้เทคนิค H&E Staining อย่างเดียวและการใช้ร่วมกับเทคนิค IHC สำหรับจำแนกผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์และจำแนกชนิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ การใช้เทคนิค H&E Staining อย่างเดียวอาจให้ผลลวง ทั้งผลลวงทางลบหรือผลลวงทางบวก บางโอกาสเนื้องอกมีลักษณะผิดปกติ หรือมีการแพร่กระจายของมะเร็งต่อมไทรอยด์ การที่จะวินิจฉัยเพื่อยืนยันความถูกต้อง ต้องใช้เทคนิค IHC ซึ่งเป็นเทคนิคที่ถูกใช้ในการตรวจวินิจฉัยเนื้องอกที่แตกต่างออกไป
วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ความถูกต้องในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมไทรอยด์ทางเทคนิคศัลย พยาธิจากการใช้เทคนิค H&E Staining อย่างเดียวและการใช้ร่วมกับเทคนิค IHC 2. เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ในปีงบประมาณ 2556
วิธีการศึกษา : ตรวจเอกสารการรายงานผลการวินิจฉัยชิ้นเนื้อ ตรวจทานสไลด์ชิ้นเนื้อ และทำการทดลองย้อมสีชิ้นเนื้อซ้ำทั้งเทคนิค H&E staining และ IHC
ผลการศึกษา : ตัวอย่างผู้ป่วยที่ใช้ในการศึกษา 110 ราย ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งไทรอยด์ 24 ราย เป็นชนิด Papillary thyroid carcinoma 20 ราย ชนิด Follicular thyroid carcinoma 2 ราย ชนิด Poorly differentiated thyroid carcinoma 1 ราย และชนิด Oncocytic or Hurthle cell 1 ราย
สรุป : ทั้งสองเทคนิคมีความถูกต้องครบถ้วนในการตรวจวินิจฉัยเพื่อจำแนกผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งไทรอยด์ และจำแนกชนิดมะเร็งไทรอยด์ อุบัติการณ์การเกิดมะเร็งไทรอยด์มีค่า 21.82 ต่อผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้อผิด ปกติในต่อมไทรอยด์ 100 ราย ซึ่งมากเป็น 4 เท่าของรายงานการศึกษาจากที่อื่น
Achievement on histopathology techniques for correct diagnosis cancer of the thyroid gland both single H&E Staining technique and when combined with Immunohistochemistry (IHC) technique of Phrapokklao Hospital in fiscal year 2013
Background : The purposes of this descriptive research were to study the correct diagnosis histopathology techniques of single H&E Staining technique and when combined with IHC technique to identify to differentiate benign from malignant tumors and types of thyroid cancer. The single H&E Staining technique for diagnosis of thyroid malignancy in thyroid nodule , it may be false negative or false positive . Occasionally, thyroid tumors represent unusual or metastatic lesions and their correct diagnosis requires IHC to confirmation. The IHC be used in the differential diagnosis of thyroid tumors .
Objectives : 1. To study the correct diagnosis histopathology techniques of H&E Staining technique and when combined with IHC technique of the thyroid gland. 2. To study the incidence of thyroid cancer between fiscal year B.E. 2556.
Method : To review the surgical thyroid tumor reports , review surgical the thyroid tumor slides and repeat experimental H&E Staining technique combined with IHC technique .
Results : The samples consisted of 110 patients. There were 24 patients are thyroid cancer ; 20 patients are Papillary thyroid carcinoma, 2 patients and Follicular thyroid carcinoma, 1 patient is Poorly differentiated thyroid carcinoma and 1 patient is Oncocytic or Hurthle cell.
Conclusion : The both techniques had totally correct diagnosis for identified to differentiate benign from malignant nodules and identified types of thyroid cancer. The incidence of thyroid cancer 21.82 per 100 thyroid nodule patients which is 4 times found in study elsewhere.