การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกัน การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

ประเสริฐ มงคลศิริ
อัจฉรพรรณ ค้ายาดี
ธิดารัตน์ ชาญตะบะ

Abstract

ที่มาของปัญหา : โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและความพิการที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วย และครอบครัว

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและศึกษาผลของการ พัฒนารูปแบบต่อพฤติกรรมการป้องโรคหลอดเลือดสมองในอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
วิธีการศึกษา
: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) พัฒนารูปแบบโดยใช้ กระบวนการAIC ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 30 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้นำชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำผู้สูงอายุ และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ประเมินผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาได้ไปทดลองใช้กับประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรองระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางและความเสี่ยงระดับสูง จำนวน 98 คน ระยะเวลาดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 เครื่อง มือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบปลายเปิดแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและแบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistic) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired t-test ในการเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันและค่าคะแนนเฉลี่ยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังการใช้รูปแบบ

ผลการศึกษา : ผลการวิจัยได้รูปแบบการดำเนินงาน 5 แผนกิจกรรม ได้แก่ 1) การคัดกรองความเสี่ยงต่อการ เกิดโรคหลอดเลือดสมอง 2) การให้ความรู้โรคหลอดเลือดสมอง 3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4) การ ใช้แรงสนับสนุนทางสังคม 5) การจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังจากนำรูป แบบดังกล่าวไปใช้กับกลุ่มที่ได้รับการคัดกรองที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าก่อนได้รับรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และค่าคะแนนเฉลี่ยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลของรูปแบบการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมสามารถส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกัน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

สรุป : รูปแบบการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือด สมองและลดอุบัติการณ์ การเกิดโรคหลอดเลือดสมองในประชากรกลุ่มเสี่ยงในชุมชนที่มีบริบทใกล้เคียง กับอำเภอบ้านไร่ จ.อุทัยธานี

 

The development of participatory prevention modelamong cardiovascular risk people at Banrai District,Uthaitani Province.

Background : Cerebrovascular disease has been the leading cause of death and disability which impacts on the quality of life of patients and their families.

Objective : Aimed to develop the prevention model of cardiovascular disease at Banrai district, Uthaitani. and then evaluate the outcomes of utilizing this preven­tion model.

Method : This Participatory Action Research (PAR) using Appreciation, Influence, Control (AIC) technique thirty Stakeholders included officers from Tambon Health Promoting Hospital, community leaders, Village Health Volunteers, elderly group representative, and the members of Subdistrict Administrative Organization were participated in this study. The sample consisted of 98 participants who were recruited from stroke risk assessment with middle and high level .This research was conducted from April 2013 to March 2014. The research instruments were Open endedquestionnaires, Risk Assessment, and Stroke Prevention Assessment. Content Analysis was used to analyze qualitative data, while descriptive statistics such as frequency, distributions, percentage, mean and standard deviation were performed for quantitative data. The comparison of preventive behaviors and risk behaviors after receiving the prevention model were computed by paired t-test.

Results : Findings indicated that the prevention model for new cases of Cerebrovascular Disease composed of five activities; 1) Stroke risk screening 2) Health education regarding stroke prevention. 3) Promoting behavioral change 4) Social support 5) Facilitating environment support. The outcomes of these five activities demonstrated that there was significant improvement of the mean scores of stroke prevention and significantly decreased stroke risk level among this risk group. (p< 0.05).

Conclusion : The researcher suggests that the participatory prevention model of Cerebrovascular Diseasemight be an important contributor to decline in declining the incidence of Cardiovascular Disease within similar community atBanrai district in Uthaitani Province.

Article Details

Section
Original Article