รูปแบบการบริหารโรงพยาบาล ที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารโรงพยาบาลที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงินเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อประเมินสภาพปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงพยาบาลที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปการบริหารโรงพยาบาลที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน ระยะแรกเป็นการศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุของการเกิดวิกฤตทางการเงิน นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนารูปแบบการบริหารโรงพยาบาลโดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมตามคิดของ Kemmis และ Zuber-Skerritt ประกอบด้วยกระบวนการวางแผน (Plan) การปฏิบัติ (Act) การสังเกตติดตามและประเมินผล (Observe) และการสะท้อนกลับ (Reflect) เป็นวงจรของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แล้วประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารโรงพยาบาลที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน
ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานแก้ไขภาวะวิกฤตทางการเงินของโรงพยาบาลพระปกเกล้า โดยการวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินสภาพความรุนแรงของปัญหา สื่อสารให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับในองค์กรเข้าใจ เพื่อสร้างความร่วมมือในการควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็นและเพิ่มรายได้ เพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง ทำให้ในปีงบประมาณ 2554 มีรายรับมากกว่ารายจ่ายและดัชนีชี้วัดทางการเงินดีขึ้น พ้นภาวะวิกฤตทางการเงินได้ภายใน 1 ปี ดังนี้ 1) การควบคุมค่าใช้จ่าย ด้านยา เวชภัณฑ์ วัสดุต่างๆ และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยคำนึงถึงมาตรฐานคุณภาพบริการ และสิทธิผู้ป่วยที่เหมาะสม 2) การเพิ่มรายได้ ได้แก่การสรุปเวชระเบียนผู้ป่วยในให้ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา มีรายรับเพิ่มขึ้น 100 ล้านบาท/ปี การปรับปรุงห้องพิเศษและปรับราคา มีรายรับเพิ่มขึ้น 10 ล้านบาท/ปี การเปิดบริการ Fax claim มีรายรับเพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท/ปี ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ 1) การปรับโครงสร้างการบริหารองค์กรแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการรับผิดชอบการบริหารงานด้าน ต่างๆ 2) การสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ดีกับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาลเพื่อให้เข้าใจ สถานการณ์ของโรงพยาบาล
Model of Hospital Management on Breakthrough Financial Crisis
The purposes of this study were to develop a model of hospital management on breakthrough financial crisis hospital and evaluate the performance of the breakthrough financial crisis hospital model. The technique used in this research was Participatory Action Research (PAR) according to the action research spiral of Kemmis, (1988) and Zuber-Skerritt (1992). The research processes were preparation by planning, acting, observing and reflecting effective of breakthrough financial crisis hospital model.
The strategies to develop a model of hospital management on breakthrough financial crisis hospital were composed of improve structure of hospital board committee, set priority policy and improve financial management. The evaluating; in fiscal year 2554 income more than expense and financial ratio in fiscal year 2554 were higher than in fiscal year 2553. The result of research were 1) reducing expense for operating cost , drug and non-drug cost, investigation cost with appropriate quality curative standard. 2) increasing income for summary charge in-patient and claim 100,000,000 baht per year, improving and increasing private room price 10,000,000 baht per year, fax claim service 4,000,000 baht per year. Critical successes factors were transformation structure organization, good two-way communicate between inside and outside organization.