การเปรียบเทียบระยะเวลาการรับบริการ และความถูกต้องของการได้รับยาก่อนและหลัง การพัฒนาระบบบริการแบบจัดกลุ่มผู้รับบริการ ตามสูตรยาของคลินิกผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี โรงพยาบาลบ่อไร่ จังหวัดตราด

Main Article Content

สิริรัตน์ เหลืองโสมนภา
ยศพล เหลืองโสมนภา

Abstract

บทคัดย่อ : การเปรียบเทียบระยะเวลาการรับบริการและความถูกต้องของการได้รับยาก่อนและหลังการ พัฒนาระบบบริการแบบจัดกลุ่มผู้รับบริการ ตามสูตรยาของคลินิกผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี โรงพยาบาลบ่อไร่ จังหวัดตราด

ความเป็นมา : การดูแลที่ดีของคลินิกผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี สามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้องและครบถ้วน การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการรับบริการและความถูกต้องของการได้รับ ยาก่อนและหลังการพัฒนาระบบบริการแบบจัดกลุ่มผู้รับบริการ ตามสูตรยาของคลินิกผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี โรงพยาบาลบ่อไร่ จังหวัดตราด

วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาแบบก่อนทดลอง ชนิด 1 กลุ่ม วัดก่อนหลังกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเอช ไอ วี ที่มารับบริการที่คลินิกผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี โรงพยาบาลบ่อไร่ จังหวัดตราด ในระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึง กันยายน 2554 เป็นเวลาสองปีติดต่อกัน จำนวน 121 คน เก็บข้อมูลก่อนทดลอง ในดือนตุลาคม 2553 และหลังทดลองเดือนกันยายน 2554 เครื่องมือในการวิจัยเป็นกิจกรรมตามระบบ บริการแบบจัดกลุ่มผู้รับบริการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และแบบคัดกรองของคลินิกผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี โรงพยาบาลบ่อไร่ จังหวัดตราด ที่ครอบคลุมข้อมูลส่วนบุคคล ระยะเวลาการบริการ และความถูกต้องของการได้รับยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา paired t test และ McNemar test

ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 53.7) มีอายุ 41 – 50 ปี (ร้อยละ 43.8) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระยะเวลาการรับประทานยา 3.45 ± 2.32 หลังจากใช้ระบบบริการแบบจัดกลุ่มผู้รับบริการตามสูตรยา 1) ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการรับบริการลดลง จาก 329.97 เป็น 150.89 นาทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) จำนวนของผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี ที่ได้รับยาก่อนกลับบ้านในปริมาณที่ไม่ครบถ้วนลดลงจาก 5 เป็น 0 ราย แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างนัยสำคัญทางสถิติ

บทสรุป : จากผลการศึกษาในครั้งมีข้อเสนอแนะว่าระบบบริการแบบจัดกลุ่มผู้รับบริการ ตามสูตรยาของ คลินิกผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปเป็นต้นแบบให้กับคลินิกผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี อื่นๆได้


The comparison of service time and accuracy of drugs received before and after the development of cluster service system regarding drugs regimen at antiretrovirus (ARV) clinic, Borai Hospital, Trad Province

Background : ARV clinic’s good service help HIV patients receive the complete and cor­rect medication. The purpose of this study were comparison of service time and accuracy of drug received before and after the development of cluster service system regarding drugs regimen at ARV, Borai Hospital, Trad Province.

Method : This research design was a pre – experimental study, one group pre – post test design. The participants were 121 HIV patients who were attending at Borai hospital’s ARV clinic, Trad Province between October 2009 to September 2011, two consecutive years. Data were collected on October 2010 and September 2011. The instrument consist of a cluster service sys­tem regarding drugs regimen at antiretrovirus (ARV) clinic and a screening tool of Borai Hospital’s ARV clinic that cover personal data , time of service and accuracy of drug spending. Data were analyzed by using descriptive statistic, paired t test and McNemar test.

Results : The results of this study revealed that more participants were female (53.7 percent), 41 – 50 years old (43.8 percent). Mean ± standard devia­tion of time to drugs consume was 3.45 ± 2.32. After the development of cluster service system regarding drugs regimen, 1) mean of service time had significantly reduced from 329.97 to 150.89 minutes 2) number of HIV patients received wrong amount of ARV drugs decreased from five to zero but not significantly differ.

Conclusion : Based on these findings, it is recommended that the cluster service system regarding drugs regimen can be role model for other ARV clinic.

Article Details

Section
Original Article