Hyperglycemic Crisis in Prapokklao Hospital
Main Article Content
Abstract
Background : Diabetic ketoacidosis (DKA) and hyperosmolar hyperglycemic state (HHS) are the two most serious acute complications of diabetes and associated with significant morbidity and mortality in diabetic patients. The objective of this study is to describe the clinical characteristics, precipitating factors morbidity and mortality of patients with hyperglycemic crisis in Prapokklao hospital.
Study design : A retrospective descriptive study
Material and methods : A retrospective descriptive study was conducted from January 2009 to December 2010. All data which met the ADA diagnostic criteria for DKA and HHS were collected from hyperglycemic crisis registry (DM care map) and electronic data base of Prapokklao hospital.
Results : There were 49 episodes of hyperglycemic crisis (DKA 36, HHS 11, and mixed DKA/HHS 2) in 43 patients in this study. The percentage of T2DM, T1DM and other type of diabetes were 65.3 percent, 26.5 percent and 8.2 percent respectively. The overall mean age was 50.53±19.35 years (45.97±17.29 years in DKA, 66.09±18.49 years in HHS and 47.00±25.46 years in mixed DKA/HHS) with a female to male ratio of 1.05:1.Infection and self-discontinuation of medication were the two most common precipitating causes of hyperglycemic crisis (40.9percent and 20.4percent). Urinary tract and respiratory tract infections were the major sources of infection (35.0percent and 30.0percent). We found that 53.06percent of study population developed hypokalemia during admission due to under-treatment with potassium supplement. No significant cardiac arrhythmia associated with hypokalemia was observed. The overall mortality rate from hyperglycemic crisis was 12.24 percent (3 cases from severe pneumonia, 1 case from gram-negative septicemia, 1 case from massive UGIH and 1 case from severe acute pancreatitis). Syndrome specific mortality was 5.56 percent for DKA and 36.36percent for HHS.
Conclusions : Infection was the most important precipitating cause of hyperglycemic crisis and the leading cause of death. The second most common and preventable cause of hyperglycemic crisis was self-discontinuation of medication. Hypokalemia was found in approximately half of the patients. Adherence to DKA/HHS treatment protocol could help prevent this complication.
ความเป็นมา : ภาวะคีโตซีส (Diabetic ketoacidosis, DKA)และภาวะโคม่าจากน้ำตาลในเลือดสูง (hyperosmolar hyperglycemic state, HHS) ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและพบได้บ่อยของโรคเบาหวาน ซึ่งใน ผู้ป่วยกลุ่มนี้พบอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยเบาหวานทั่วไป การวิจัยในครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลผู้ป่วย ปัจจัยกระตุ้น และวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อ อัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพในผู้ป่วยที่พบภาวะดังกล่าวในโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทุบรี
รูปแบบการศึกษาวิจัย : การศึกษาวิจัยแบบพรรณนาย้อนหลัง
ขั้นตอนการวิจัย : เริ่มมีการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มีภาวะคีโตซีสและภาวะโคม่าจากน้ำตาลในเลือดสูง ที่เข้าได้กับเกณฑ์ การวินิจฉัยของ ADA guideline โดยอิงตามฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลพระปกเกล้าและ ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยเบาหวานเฉียบพลัน (hyperglycemic crisis registry หรือ DM care map) ในช่วงระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2552 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 255ผลการวิจัย : พบผู้ป่วยที่รับการรักษาทั้งหมด 49 ครั้ง (43 ราย) โดยพบเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยภาวะ คีโตซีส 36 ครั้ง ภาวะโคม่าจากน้ำตาลในเลือดสูง 11 ครั้ง และผู้ป่วยที่พบทั้งสองภาวะร่วมกัน 2 ครั้ง ส่วนมากพบเป็นผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่สองร้อยละ 65.3, เบาหวานประเภทที่หนึ่งร้อยละ 26.5 และผู้ ป่วยเบาหวานชนิดอื่นๆ ร้อยละ 8.2 อายุเฉลี่ยพบอยู่ในช่วง 50.53±19.35 ปี (45.97±17.29 ปี ในภาวะ คีโตซีส DKA, 66.09±18.49 ปี ในภาวะโคม่าจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และ 47.00±25.46 ปีในกลุ่มที่ พบทั้งสองภาวะร่วมกัน) พบในเพศหญิงและเพศชายเท่าๆ กันคือในอัตราส่วน 1.05:1 ปัจจัยกระตุ้นที่ สำคัญคือการติดเชื้อและการหยุดยาเบาหวานโดยพบร้อยละ 40.9 และ 20.4 ตามลำดับการติดเชื้อทาง เดินปัสสาวะพบมากที่สุดซึ่งพบถึงร้อยละ 35 รองลงมาคือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจพบร้อยละ 30 ภาวะแทรกซ้อนระหว่างนอนโรงพยาบาลที่สำคัญคือภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งพบถึงร้อยละ 53.06 โดยเกิดจากการได้รับโพแทสเซียมไม่เพียงพอระหว่างการรักษา แต่ไม่พบอันตรายจากหัวใจเต้น ผิดจังหวะจากภาวะโพแทสเซียมต่ำดังกล่าว พบผู้ป่วยเสียชีวิตทั้งสิ้น 6 ราย หรือร้อยละ 12.24 (3 ราย เสียชีวิตจากปอดติดเชื้อ, 1 รายจากติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบในกระแสเลือด, 1 รายจากภาวะเลือดออก ในทางเดินอาหารอย่างรุนแรง และ 1 รายจากภาวะตับอ่อนอักเสบรุนแรงเฉียบพลัน) โดยในกลุ่มผู้ป่วย โคม่าจากน้ำตาลในเลือดสูงมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มคีโตซีส (ร้อยละ 36.36 และ 5.56 ตามลำดับ)
สรุป : จากการศึกษาพบว่าการติดเชื้อเป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญและพบบ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะฉุกเฉิน ในโรคเบาหวาน และยังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต การหยุดยาเป็นอีกปัจจัยที่พบรองลงมาซึ่ง สามารถป้องกันได้โดยการให้ความรู้อย่างถูกต้องแก่ผู้ป่วย ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั้งหมดเกิดภาวะ โพแทสเซียมในเลือดต่ำในระหว่างการรักษาซึ่งอาจสามารถแก้ไขได้โดยการปฏิบัติตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินทางเบาหวานอย่างเคร่งครัด