อิทธิพลของความเชื่อเกี่ยวกับการกินยา ต่อความร่วมมือในการกินยาของ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในระดับสูง

Main Article Content

ยศพล เหลืองโสมนภา
สาคร พร้อมเพราะ
สมบัติ เหลืองโสมนภา
ยุพาธร เสือเฒ่า

Abstract

บทคัดย่อ : อิทธิพลของความเชื่อเกี่ยวกับการกินยาต่อความร่วมมือในการกินยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในระดับสูง

ความเป็นมา : ความเชื่อเกี่ยวกับการกินยาเป็นตัวแปรที่แข็งแกร่งต่อความร่วมมือในการกินยา การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความเชื่อเกี่ยวกับการกินยาต่อความร่วมมือในการกินยาของผู้ ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในระดับสูง ภายหลังควบคุมตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษาและจำนวนยาที่กินในแต่ละวัน

วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูงที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่งและโรงพยาบาล 2 แห่งในจังหวัด ตราดและจังหวัดสระแก้วจำนวน 100 คน เก็บข้อมูลในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการกินยา ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 3) แบบสอบถามความ ร่วมมือในการกินยาซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน ไคว์สแควร์ และสถิติถดถอยโลจิสติก

ผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความเชื่อเกี่ยวกับการกินยา ด้านการรับรู้ความจำเป็นต่อการกินยา ด้านความกังวลจากการกินยา ด้านการใช้ยามากเกินไปและด้าน อันตรายจากการกินยามีค่าเท่ากับ 20.98 ± 3.48, 14.50 ± 4.36, 13.20 ± 2.71 และ 11.46 ± 3.78 ตาม ลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความร่วมมือในการกินยาในระดับสูงร้อยละ 60 เมื่อควบคุมอิทธิพล ของความเชื่อต่อการกินยาด้านอื่นแล้ว ความเชื่อเกี่ยวกับการกินยาด้านการรับรู้ความจำเป็นต่อการกินยามีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการกินยาระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 001 (R2 = 37.7, p < .05) ขณะที่ความเชื่อด้านความกังวลจากการกินยาด้านการใช้ยามากเกินไป และด้าน อันตรายจากการกินยาไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการกินยา

บทสรุป : จากผลการศึกษาในครั้งนี้มีข้อเสนอแนว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูงควรจัดกิจกรรมในการส่งเสริมความเชื่อเกี่ยวกับการกินยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีความร่วมมือในการกินยาระดับต่ำโดยเฉพาะความเชื่อด้านการรับรู้ความจำเป็นต่อการกินยา

 

Influence of beliefs about medication on high group of medication adher­ence in hypertensive patients.

Background : Beliefs about medication is a strong predictor of medication adherence. The purpose of this study were influence of beliefs about medication on high group of medication adherence in hypertensive patients after controlled variables of sex, age, educational level and number of drugs consume per day.

Method : This research design was a cross - sectional analytical research. The participants were 100 hypertensive patients who were treated at 2 health promoting hospitals and 2 district hospitals at Trat & Sakaeo Province. Data were collected between May and October 2012. The instrument was a three part of questionnaires. Firstly, the part of assessing personal data. Secondly, the part of beliefs about medication, with the reliability of 0.82. Finally, the part of medication adherence, with the reliability of 0.80. Data were analyzed by using descriptive statistics, pearson’s correlation coef­ficient, chi – square test and logistic regression statistic.

Results : The results of this study revealed that mean ± standard deviation of necessity, concern, overuse and harm of belief about medication were 20.98 ± 3.48, 14.50 ± 4.36, 13.20 ± 2.71 and 11.46 ± 3.78 respectively. Most of hypertensive patients were high group of medication adherence (60%). After controlled variables of sex, age, educational level and number of drug consume per day, necessity of belief about medication was significantly correlation and predicted to high group of medication adherence in hy­pertensive patients (R2 = 37.7, p< .05) whereas concern, overuse, harm of belief about medication were not significantly correlation.

Conclusion : Based on these findings, it is recommended that health care providers should make appropriate activities from result of this study for on low group of medication adherence in hypertensive patients especially enhance neces­sity of belief about medication.

Article Details

Section
Original Article