การศึกษาความชุกตามระดับความเสี่ยง ของการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า

Main Article Content

รัชฎา สหะวรกุลศักดิ์

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงของการเกิดแผล ที่เท้าในระดับต่างๆ โดยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาที่เวลาใดเวลาหนึ่ง ประเมินผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2554 ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมวิจัยจำนวน 333 คน มีเพศชายร้อยละ 31.8 เพศหญิงร้อยละ 68.2 อายุเฉลี่ย 60.48 ปี โดยส่วนใหญ่มีช่วงระยะเวลาการเป็นเบาหวานไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 39.3 เมื่อจัดระดับความเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าพบระดับ 0 (ยังไม่มีพยาธิสภาพที่เท้า) มีร้อยละ 93.1 ระดับ 1 (เสีย protective sensation) มีร้อยละ 4.5 ระดับ 3 (เสีย protective sensation และเคยมีแผลที่เท้า) มีร้อยละ 2.4 ไม่พบความเสี่ยงระดับ 2 (เสีย protective sensation และมีหนัง แข็ง, เท้าผิดรูป) พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผู้ที่เป็นเบาหวานมานานมากกว่า 10 ปี ผู้ที่มีประวัติเคยมีแผลที่เท้า ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดกับผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าตั้งแต่ระดับ 1 ขึ้นไป แม้ผู้ป่วยที่คลินิกเบาหวานส่วนใหญ่ยังไม่มีพยาธิสภาพที่เท้าแต่ร้อยละ 6.9 มีความเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าตั้งแต่ระดับ 1 ขึ้นไปแล้ว ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานทุกรายควรได้รับคำแนะนำในการดูแลเท้าอย่างถูกวิธีและได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมโดยแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในสหสาขาวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

Prevalence of Risk to Developing Diabetic Foot Ulcer

Objectives : To study the level of risk in developing diabetic foot ulcer

Study design : A cross sectional descriptive study

Setting : Outpatient diabetes mellitus specialty clinic (DM clinic) at Chaophya Abhaibhubejhr Hospital

Methods : Diabetes patients were randomly sampling from DM clinic during October to December 2011. Foot, protective sensation were examined according to diabetic foot classifications

Result : Three hundred and thirty three diabetes patients were studied .Most of the patients were females (62.8 percent) and had duration of diabetes no more than 5 years (39.3 percent). The average age was 60.48 years. These patients, 93.1 percent fall into category 0 (no loss of protective sensa­tion), 4.5 percent into category 1 (loss of protective sensation, LOPS), 2.4 percent into category 3 (LOPS and history of plantar ulceration or charcot fracture). No patients fall into category 2 (LOPS and evidence of high pressure: callus, deformity or poor circulation ). More than 10 year durations of diabetes, history of foot ulcer and history of cardiovascular disease were significantly associated with risk of developing foot ulcer, at least category 1 of diabetic foot classification.

Conclusion : Six point nine percent of patients in DM clinic had at least category 1 of diabetic foot classification, the risk to develop diabetic foot ulcer in the future. Therefore all patients at the DM foot clinic should be educated about education foot care and promptly treated to prevent diabetic foot ulcer from multidisciplinary team.

Article Details

Section
Original Article