ประสิทธิผลของการประเมินการใช้ยา Piperacillin-Tazobactam โรงพยาบาลพระปกเกล้า
Main Article Content
Abstract
ที่มาของปัญหา : การใช้ยา Piperacillin-Tazobactam อย่างไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา รวมทั้งการใช้ยามากเกินความจำเป็นทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการประเมินการใช้ยาที่มีต่อความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา Piperacillin-Tazobactam เปรียบเทียบระหว่างช่วงก่อนและหลังการ intervention โดยเภสัชกร และมูลค่ายาต้านจุลชีพที่ประหยัดได้จากการ intervention
วิธีการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Quasi-experimental โดยเปรียบเทียบความเหมาะสมของการใช้ยากับเกณฑ์มาตรฐานการใช้ยาของโรงพยาบาลช่วงก่อนและหลังintervention กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลพระปกเกล้าที่ได้รับยา Piperacillin-Tazobactam ในช่วงเวลาที่ศึกษาซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงละ 9 เดือน ช่วงก่อน intervention เป็นการเก็บข้อมูลการใช้ยาย้อนหลังตั้งแต่เดือน เมษายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2550 ช่วงหลัง intervention เป็นการประเมินการใช้ยาขณะที่ผู้ป่วยได้รับยา (concurrent utilization evaluation) ร่วมกับเภสัชกร intervention แพทย์ผู้สั่งใช้ยาในกรณีที่การสั่ง ใช้ยาไม่สอดคล้องตามเกณฑ์ฯ โดยเก็บข้อมูลแบบติดตามผู้ป่วยไปข้างหน้า ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2551 นำข้อมูลทั้งสองช่วงมาเปรียบเทียบร้อยละความเหมาะสมของการใช้ยา และมูลค่ายาต้านจุลชีพที่ประหยัดได้จากการ intervention
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินการใช้ยา Piperacillin-Tazobactam ก่อนและหลัง intervention มีจำนวน 326 ราย และ 235 ราย ตามลำดับความเหมาะสมของการสั่งใช้ยาก่อนและหลัง intervention เท่ากับร้อยละ 64.7 และร้อยละ 84.3 ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบ ว่าหลัง intervention ความเหมาะสมของการใช้ยาโดยยังไม่ทราบชนิดและความไวของเชื้อต่อยาที่ใช้รักษา (empirical therapy) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากร้อยละ 66.5 เป็นร้อยละ 86.2 และความเหมาะสมของการใช้ยาเมื่อทราบชนิดและความไวของเชื้อต่อยาที่ใช้รักษา (definitive therapy) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 57.6 เป็นร้อยละ 74.4 แพทย์แผนกอายุรกรรมมีการใช้ยาอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากร้อยละ 63.8 เป็นร้อยละ 84.8 ส่วนแพทย์แผนกศัลยกรรมมีการใช้ยาอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากร้อยละ 67.7 เป็น ร้อยละ 82.4 มูลค่ายาต้านจุลชีพที่ประหยัดได้จากการ intervention โดยเภสัชกร 59,499 บาท
สรุปผลและข้อเสนอแนะ : การประเมินการใช้ยาร่วมกับการมี intervention โดยเภสัชกรมีส่วนช่วยส่งเสริมให้มีการใช้ยา Piperacillin-Tazobactam อย่างเหมาะสมในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น และเป็นประโยชน์นำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินการใช้ยาชนิดอื่นได้
Effectiveness of Drug Utilization Evaluation on Piperacillin-Tazobactam use at Prapokklao Hospital
Background : Inappropriate use of Piperacillin/Tazobactam is one of contributing factors which lead to the growth of antimicrobial resistance and cost escalation in health care.
Objective : To evaluate the effectiveness of Drug Utilization Evaluation (DUE) for appropriate use of Piperacillin/Tazobactam prior to and after implementation of pharmacists interventions, and to determine the impact of such interventions on cost saving of antimicrobial expenditures.
Methods : Quasi-experimental approach was employed, and we developed local hospital guidelines for drug use, in which a pre-intervention period was compared with a post-intervention period. All patients who received Piperacillin/Tazobactam during two 9-month study periods were included in the study, and orders for patient placed from April to December 2007, were retrospectively evaluated in the pre- intervention period. During post-intervention period, concurrent DUE was conducted with an intervention by pharmacists were provided to physicians, and all orders for patient placed from April to December 2008 were prospectively evaluated in this period. Appropriate drug use was compared between two - phase and the cost saving of antimicrobial expenditures from pharmacist intervention was assessed.
Results : A 326 patients received Piperacillin-Tazobactam were evaluated before intervention, and 235 patients after intervention, respectively. The proportion appropriate use of Piperacillin-Tazobactam in the post-intervention period was significantly higher than in the pre-intervention period (84.3 percent vs. 64.7 percent, p<0.05), 86.2 percent vs. 66.5 percent for empiric (p<0.05), and 74.4 percent vs. 57.6 percent for definitive (p>0.05). Appropriateness differed between the two phases for internal medicine teams (63.8 percent vs. 84.8 percent, respectively, p <0.05), and for surgery teams. (67.7 percent vs. 82.4 percent, respectively, p< 0.05). The antibiotic cost savings from pharmacist intervention was 59,499 Baht.
Conclusions : DUE with pharmacist intervention was an effective method in improving Piperacillin-Tazobactam use at Prapokklao Hospital, suggesting that it is a useful approach to improving appropriate use of other antimicrobial among inpatients.