ความต้องการข้อมูลของญาติผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลพระปกเกล้า

Main Article Content

รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ
ศรีสุดา งามขำ
คงขวัญ จันทรเมธากุล
รัชสุรีย์ จันทเพชร
สาคร พร้อมเพราะ

Abstract

ความสำคัญของปัญหา : การทราบข้อมูลของญาติผู้ป่วยที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการเข้าใจในสภาวะสุขภาพและอาการของผู้ป่วยจะช่วยให้ญาติของผู้ป่วยมีส่วนช่วยเหลือในการสื่อสารกับผู้ป่วย และสนับสนุนส่งเสริมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณ จะทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการ ต่อสู่กับภาวะวิกฤตของโรคในขณะที่รับการรักษาที่โรงพยาบาล

วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาระดับของความต้องการข้อมูลของญาติผู้ป่วยที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก

วิธีดำเนินการวิจัย : วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ซึ่งได้จากสัมภาษณ์จากญาติผู้ป่วยจำนวน 64 คน ที่มาเยี่ยมผู้ป่วยหนักอายุรกรรม ศัลยกรรม และศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลพระปกเกล้า ที่ตอบแบบสอบถาม การสำรวจความต้องการข้อมูล (The Information Need Survey) ได้ครบสมบูรณ์ แบบสอบถามได้ดัดแปลงมาจากแบบสำรวจของมอลเตอร์และคณะ เพื่อให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย คำถามมีทั้งหมด 6 ด้าน จำนวน 43 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ One-way ANOVA และ Mann-Whitney U test

ผลการวิจัย : พบว่า ความต้องการทราบข้อมูลของญาติผู้ป่วยที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก ญาติผู้ป่วยที่มาเยี่ยมผู้ป่วยหนัก มีอายุเฉลี่ย 40 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 66 มีความต้องการทราบข้อมูลอยู่ในระดับสูงทุกด้านอายุและระดับการศึกษามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ญาติผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าและระดับการศึกษาสูงกว่ามีความต้องการทราบข้อมูลในระดับมากกว่าญาติผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่าและระดับการศึกษาต่ำกว่า เพศ รายได้ จำนวนวันที่นอนพักรักษาตัว และลักษณะของหอผู้ป่วยหนักมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป : ความต้องการทราบข้อมูลของญาติผู้ป่วยที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก ญาติผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าและระดับการศึกษาสูงกว่ามีความต้องการทราบข้อมูลมาก พยาบาลและเจ้าหน้าที่ควรสื่อสารให้ญาติผู้ป่วยทราบข้อมูลที่ถูกต้องและเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะวิกฤตของผู้ป่วย แต่สำหรับข้อมูลที่เป็นความลับ เช่น ผลเลือดเป็นบวก ควรให้แพทย์เป็นผู้แจ้งเพื่อการคำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วย

 

Family Relative’s Information needs in Intensive Care Unit, Prapokklao Hospital

Background : Family Relatives’ information needs in Intensive Care Unit (ICU) are impor­tant because family relatives can understand of patients’ health conditions and symptoms. Family relatives’ understanding helps to communicate to patients and support patients of physical, psychological, emotional, and spiritual conditions leading to provide patients to cope with the crisis of the health conditions when they were hospitalized.

Objective : To identify level of the information needs of family relatives during patients admitted in ICUs.

Methods : We conducted the descriptive research in 64 family relative of the patients in Medical, Surgical, and Trauma ICUs at Prapokklao Hospital. Participants completed the Information Need Survey (INS) adopt from Molter et al. with modifications for Thai culture. The INS consisted of 43 items related to pa­tients’ health condition, nursing care, healthcare provider, patient visiting, environment and miscellaneous; its internal consistency was good (α= 0.89). We applied One-way ANOVA and Mann-Whitney U test for differences in levels of the information need.

Results : The study findings showed that most of the caregivers of the patients in ICUs were females, with the mean age of 40 years (66 percent). Family relative had a high level of information need for all components. The age and education levels of the family relative had the significant differences of information needs (F = 3.71, F = 3.85; p < .05). The younger and higher education needed more information than those with older and lower edu­cation. Gender, incomes, length of stay, and ICUs were not statistically significant difference of information needs.

Conclusions : Information needs of family relatives were increased by younger and higher education. Clinicians and nurses should communication about patients’ condition to their family relatives to help them obtaining correct informa­tion and understanding the crisis of the health conditions of the patients. However, the confidential information of the patients such as positive blood test should be telling by the physicians regarding to the patients’ right.

Article Details

Section
Original Article