Characteristics of Heart Failure Patients Readmitted within 28 Days in Saraburi Hospital

Main Article Content

Surachai Kobkuechaiyapong

Abstract

Background : Heart failure (HF) is one of the leading causes of hospital admission. This syndrome is associated with high rates of mortality and morbidity, includ­ing hospital readmission.

Objectives : The objectives of this study are to assess the age, sex, clinical presenta­tion, causes of heart failure, precipitating causes of heart failure and in-hospital mortality of patients due to heart failure readmitted in Saraburi Hospital within 28 days. Identifying patient characteristics in common will help physicians to improve risk stratification for preventing readmission and improvement of mortality.

Materials and Methods : All admission records with diagnosis of heart failure readmis­sion (ICD 10 codes l50) from Department of lnternal Medicine of Saraburi Hospital in 2-year period (October 1st, 2010 through September 30th, 2012) were evaluated.

Results : Total of 52 patients were responsible for 131 readmissions. The majority of readmitted patients were 60-79 years of age. 53.8 percent were male patients. Complaints at initial admission visit were dyspnea (97.7 percent), edema (85.5 percent), weakness (71.8 percent), chest discomfort (65.6 percent), cough (15.3 percent) and drowsiness (4.6 percent). Underlying cardiac diseases were coronary artery disease (53.8 percent), valvular heart disease (21.2 percent), hypertensive heart disease (15.4percent) and cardiomyopathy (7.7 percent). Precipitating factors of heart failure were noncompliance with dietary (28.2 percent), myocardial infarction or ischemia (20.6 percent), inadequate drug therapy (11.5 percent), noncom­pliance with medication (9.2percent), anemia (6.9 percent), infection (5.3 percent), cardiac arrhythmia (3.1 percent) and unknown (15.3 percent). Concomitant diseases or conditions were diabetic mellitus (48.1 percent), dyslipidemia (44.2 percent), chronic kidney disease (23.1 percent), smok­ing (15.4 percent), stroke (9.6 percent), chronic obstructive pulmonary disease (3.8 percent), heavy alcohol drinking (3.8 percent) and human im­munodeficiency virus (1.9 percent). 6 Patients (11.5 percent) died during readmission and all of them had the underlying coronary artery disease.

Conclusions : This study demonstrates that the majority of readmitted patients were 60-79 years of age. Coronary artery disease, valvular heart disease and hypertensive heart disease were major underlying cardiac diseases. Non­compliance (medication and diet), myocardial infarction or ischemia and inadequate drug therapy were common precipitating factors. Specifically pay attention to heart failure patients with these characteristics might lead to major improvement of early readmission and mortality.

 

การศึกษาหาปัจจัยของการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว หลังจากออกจากโรงพยาบาลภายใน 28 วัน ในโรงพยาบาลสระบุรี

หลักการและเหตุผล : ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นกลุ่มอาการที่มีอุบัติการณ์สูงในประเทศไทยและทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยจำนวนมากต้องกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำหลังจากได้กลับออกจากโรงพยาบาลแล้ว ปัญหาดังกล่าวมีผลต่อกระทบทั้งต่อตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัวและประเทศชาติทั้งในด้านอัตราการครองเตียงในโรงพยาบาลและงบประมาณที่ต้องแลผู้ป่วยกลุ่มนี้

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหาปัจจัยของการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวหลังจากออกจากโรงพยาบาลภายใน 28 วัน ในโรงพยาบาลสระบุรีทั้งในด้านปัจจัยพื้นฐาน อาการนำ สาเหตุ สิ่งกระตุ้น โรคร่วมและอัตราการเสียชีวิตเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการป้องกันการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาย้อนหลังจากฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ภายหลังจากผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว กลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วัน ในโรงพยาบาลสระบุรีระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ผลการศึกษา : พบจำนวนการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวหลังจากออกจากโรงพยาบาล ภายใน 28 วัน จำนวน 131 ครั้ง ในผู้ป่วย 52 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุ 60-79 ปี เป็นผู้ป่วยชายจำนวน 28 คน (ร้อยละ 53.8) อาการนำของผู้ป่วยที่มานอนโรงพยาบาลครั้งแรกได้แก่เหนื่อย (ร้อยละ 97.7) บวม (ร้อยละ 85.5) อ่อนเพลีย (ร้อยละ71.8) แน่นหน้าอก (ร้อยละ 65.6) ไอ (ร้อยละ 15.3) และซึม (ร้อย ละ 4.6) สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ (ร้อยละ 53.8) โรคลิ้นหัวใจ (ร้อยละ 21.2) ความดันโลหิตสูง (ร้อยละ15.4) และโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (ร้อยละ 7.7) ปัจจัยกระตุ้นภาวะหัวใจล้ม เหลวได้แก่ การขาดความรู้เรื่องรับประทานอาหาร (ร้อยละ 28.2) อาการหัวใจขาดเลือด (ร้อยละ 20.6) และการได้รับยาไม่เต็มที่ (ร้อยละ 11.5) ความสม่ำเสมอของการรับประทานยา (ร้อยละ 9.2) ภาวะโลหิต จาง (ร้อยละ 6.9) การติดเชื้อ (ร้อยละ 5.3) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (ร้อยละ 4.3) ไม่รู้สาเหตุและ ไม่มีข้อมูล (ร้อยละ 15.3) โรคร่วมที่พบบ่อยได้แก่เบาหวาน (ร้อยละ 48.1) ไขมันในเลือดผิดปกติ (ร้อย ละ 44.2) สูบบุหรี่ (ร้อยละ 21.1) โรคไตเสื่อมเรื้อรัง (ร้อยละ 23.1) โรคหลอดเลือดสมอง (ร้อยละ 9.6) โรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง (ร้อยละ 3.8) ดื่มแอลกอฮอล์มาก (ร้อยละ 3.8) และ ติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิด ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (ร้อยละ 1.9) ผู้ป่วย 6 คน (ร้อยละ 11.5) เสียชีวิตหลังจากกลับมานอนโรงพยาบาล ซ้ำ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตทุกคนมีโรคหลอดเลือดหัวใจ

สรุป : ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวจำนวนมากต้องกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำหลังจากได้กลับออกจากโรงพยาบาลแล้ว ปัจจัยที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้แก่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป อาการนำเช่น แน่นหน้าอกและบวมมาก สาเหตุจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยกระตุ้น เช่น การขาดความรู้เรื่องรับประทาน อาหาร ความสม่ำเสมอของการรับประทานยา อาการหัวใจขาดเลือดและการได้รับยาไม่เต็มที่ ซึ่งแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวของควรตระหนักถึงปัจจัยเหล่านี้เพื่อป้องกันการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยให้มากที่สุด

Article Details

Section
Original Article