การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเทคนิค median และ paramedian ในการเจาะน้ำไขสันหลัง โดยนิสิตแพทย์โรงพยาบาลพระปกเกล้า

Main Article Content

สุกัญญา สุวรรณวิชัย

Abstract

ที่มา : spinal anesthesia เป็นการระงับความรู้สึกที่นิยมทำสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับผ่าตัดบริเวณขาและช่องท้องส่วนล่าง โดยทิศทางการแทงเข็มเพื่อเจาะน้ำไขสันหลังนั้นอาจใช้เทคนิค median หรือ para­median ซึ่งนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 ของโรงพยาบาลพระปกเกล้าจะได้รับสอนทั้ง 2 เทคนิคภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์ผู้ชำนาญ

วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาผลการเจาะน้ำไขสันหลังโดยนิสิตแพทย์โรงพยาบาลพระปกเกล้าระหว่างเทคนิค median และ paramedian โดยเปรียบเทียบกันในด้านอัตราความสำเร็จจำนวนครั้งของความพยายาม และภาวะแทรกซ้อน

ระเบียบวิธีวิจัย : เป็น randomized controlled study โดยนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ทุกคนที่ผ่านการเรียนการสอนจากภาควิชาวิสัญญีวิทยาระหว่าง เดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 จำนวน 28 คน ถูกแบ่งเป็นกลุ่ม median กับ paramedian ด้วยวิธีการสุ่ม นิสิตแพทย์ 1 รายจะได้เจาะน้ำไขสันหลังผู้ป่วย 1 ราย ซึ่งต้องเป็นผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด ช่องท้องส่วนล่างหรือขาภายใต้เทคนิค spinal anesthesia ด้วยความเต็มใจ และจำกัดความพยายาม ในการแทงเข็มของนิสิตแพทย์ไว้เพียง 3 ครั้ง

ผลการศึกษา : ผลสำเร็จจากความพยายาม 3 ครั้งพบว่ากลุ่มเทคนิค median เท่ากับร้อยละ 71.4 และสำเร็จตั้งแต่ความพยายามครั้งแรกเท่ากับร้อยละ 50 สำหรับกลุ่มเทคนิค paramedian สำเร็จทั้งหมดเท่ากับ ร้อยละ 64.3 และในความพยายามแรกเท่ากับร้อยละ 21 แต่ในเชิงสถิติไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (ความพยายามแรก p = 0.236, OR 3.667, ร้อยละ 95CI = 0.703-19.120) โดยข้อมูลพื้นฐาน ของนิสิตแพทย์ด้านอายุ และเพศ ข้อมูลผู้ป่วยด้านอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และ BMI ไม่มีความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ ภาวะแทรกซ้อนที่พบในกลุ่ม paramedian คือ ปวดหลังเล็กน้อย 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 21.4 paresthesia กับ bloody tap อย่างละ 1 รายคิดเป็นร้อยละ 7.1 ในขณะที่กลุ่ม median พบเพียงอาการปวดหลังเล็กน้อย

สรุปผลและเสนอแนะ : การศึกษานี้พบว่า อัตราความสำเร็จในการเจาะน้ำไขสันหลังโดย 2 เทคนิคไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามหากแนวทางการสอนเปลี่ยนแปลงไป หรือสามารถเพิ่มประสบการณ์ให้นิสิตแพทย์ได้มากขึ้นก็อาจทำให้อัตราความสำเร็จเปลี่ยนไปจากที่ศึกษาได

 

A comparison between median and paramedian approaches for subarach­noid puncture by medical students, Prapokklao Hospital.

Background : Spinal anesthesia has been widely used in our institution for lower limbs and lower abdominal surgeries. The procedure is performed by median or paramedian approach which has its own limitations. Fifth- year medical students in Prapokklao Hospital are trained about both approaches under supervision of anesthesiologists.

Objective : To compare median and paramedian approach of subarachnoid puncture by medical students, Prapokklao Hospital in terms of success rate, number of attempts and complications

Method : In this randomized controlled study, 28 fifth- year medical students in train­ing program of anesthesiology during a period from August to November 2012 were randomly allocated in two groups (median group , paramedian group). One medical student was assigned to puncture subarachnoid space of one patient undergoing lower abdominal and lower limbs surgeries under spinal anesthesia.

Result : The success rate of median group was found to be 71.4 percent with the first attempt success rate of 50 percent. The success rate of paramedian group was found to be 64.3 percent with the first attempt success rate of 21 percent. There were no significant differences between the 2 groups in demographic characteristics of patient and students, total success rate (p = 0.116) and success rate in the first attempt (p = 0.236, OR 3.667, 95 percent CI = 0.703-19.120). The complications were occurred in paramedian group eg. mild backache 3 cases (21.4 percent), paresthesia 1 case(7.1 percent), bloody tap 1case (7.1 percent) but median group was found only backache.

Conclusion : In this study, the choice of median or paramedian approach did not affect the success rate of subarachnoid puncture. However if the medical students have more experiences, the result may be changed.

Article Details

Section
Original Article